พระหลวงพ่อโบสถ์น้อย เนื้อดิน รุ่นแรก ปี๒๔๘๘ วัดอมรินทรารามวรวิหาร กรุงเทพฯ

รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง

รายละเอียด

พระหลวงพ่อโบสถ์น้อย เนื้อดิน รุ่นแรก ปี๒๔๘๘ วัดอมรินทรารามวรวิหาร กรุงเทพฯ
 ราคา (8,500 บาท)
..:: อธิบายเพิ่มเติม ::..

.. พระเครื่องหลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทรารามวรวิหาร พ.ศ.๒๔๘๘ พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่งสมาธิราบบนบัลลังก์ฐานบัวชั้นเดียวภายในซุ้มเรือนแก้ว (ข้างหยัก) รูปสามเหลี่ยม ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ จำลองสมมุติเป็นองค์หลวงพ่อโบสถ์น้อย (องค์พระประธานในพระอุโบสถ) .. ผู้ที่ออกแบบแกะแม่พิมพ์คือ พระสมุห์ชุ่ม สุวณฺณสโร ประธานกรรมการคณะสงฆ์วัดอมรินทราราม .. มวลสารเป็นเนื้อดินกรุโบราณจากหลายแหล่ง ผงปูนที่ได้จากฐานชุกชีตอนที่บูรณะหลวงพ่อโบสถ์น้อย ผสมเม็ดพระศกเก่าๆของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่หลุดร่วงลงมาซึ่งทางวัดได้เก็บรักษาไว้ และดอกไม้ตากแห้งที่ประชาชนมากราบไหว้บูชาองค์หลวงพ่อ
.. จำนวนที่สร้างประมาณ ๔,๐๐๐ องค์
.. พระเกจิอาจารย์ผู้เข้าร่วมพิธีปลุกเสก อาทิ
๑.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก พระนครศรีอยุธยา
๒.หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี
๓.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี
๔.หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก กทม.
๕.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม. เป็นต้น
.. มีแบบเนื้อดินและเนื้อผง และยังมีแบบสี่เหลี่ยมเป็นเนื้อผงเนื้อหาออกสีน้ำตาลทำแจกเฉพาะกรรมการจึงมีจำนวนการสร้างที่ไม่มากนัก .. สถานที่ทำพิธีปลุกเสกเหรียญและพระเครื่องได้ทำพิธีในคราวเดียวกันเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ภายในบริเวณพระอุโบสถหลังใหญ่ของวัดอมรินทราราม .. มูลเหตุที่สร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อโบสถ์น้อยในคราวนี้ เพื่อไว้แจกสมนาคุณแก่ท่านผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ในการกุศลสมทบทุนสร้างโบสถ์น้อยหลังใหม่ของหลวงพ่อ ไม่ได้กำหนดราคาแต่อย่างใดแล้วแต่ศรัทธาของผู้บริจาค(ในสมัยนั้น)

.. องค์นี้เนื้อดิน สภาพเดิมๆ เนื้อหยาบมวลสาร สภาพสวยเดิมๆ แห้งๆ ผิวยับย่นขึ้นผดธรรมชาติพระเนื้อเก่าแปดสิบกว่าปี ด้านหลังกดจมตราโบสถ์ลึกๆพอชัด แท้ดูง่ายสบายตา ถูกที่สบายใจ สะสมได้ยาวๆครับ พระแท้สร้างน้อยหายากมากครับ **ประกันความแท้และความพอใจหลังรับพระ**...bank(081)1416959 หรือ (087)0746821...Line ID.bank-baantonmai

** ประวัติหลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทรารามวรวิหาร ** หลวงพ่อโบสถ์น้อยไม่ปรากฏหลักฐานความเป็นมาแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด แต่จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า แต่เดิมหลวงพ่อโบสถ์น้อยเป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสำริด มีขนาดไม่ใหญ่นักแต่จะมีขนาดเท่าใดและเป็นพระพุทธรูปสมัยใดนั้นไม่ ปรากฏแน่ชัด สันนิษฐานว่าหลวงพ่อโบสถ์น้อยคงจะเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจึงมีความเลื่อมใสศรัทธาและอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ แต่ด้วยเหตุที่องค์พระพุทธรูปมีขนาดเล็กไม่สมกับพระอุโบสถที่มีความกว้างขวางใหญ่โต ดังนั้นชาวบ้านจึงได้คิดหากลอุบายด้วยการปั้นปูนพอกทับอำพรางองค์จริงของพระพุทธรูปเอาไว้เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสมกับพระอุโบสถ ซึ่งขณะนั้นมีขนาดยาวถึง ๔ ห้อง ครั้นต่อมาถึง พ.ศ.๒๔๔๑ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯให้ตัดเส้นทางรถไฟสายใต้ เริ่มจากปากคลองบางกอกน้อยไปทางนครปฐม มีผลให้พื้นที่ด้านหน้าวัดอมรินทรารามตรงปากคลองบางกอกน้อยถูกตัดตอนเป็นทางรถไฟวางรางรถไฟเฉียดผ่านพระอุโบสถของวัด จนถึงกับต้องรื้อด้านหน้าของพระอุโบสถออกไปเสียห้องหนึ่ง เหลือเพียง ๓ ห้องเท่านั้น ทำให้พระอุโบสถมีขนาดเล็กลง ชาวบ้านจึงเรียกว่า “โบสถ์น้อย” และคงจะเรียกชื่อพระประธานในพระอุโบสถ์โดยอนุโลมว่า “หลวงพ่อโบสถ์น้อย” ด้วยเช่นกัน .. อย่างไรก็ตามยังคงมีเรื่องเล่ากันถึงความมหัศจรรย์ของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ได้แสดงปาฏิหาริย์ให้ประจักษ์แก่ประชาชนโดยทั่วไป กล่าวคือเมื่อครั้งที่นายช่างฝรั่งมาส่องกล้องเพื่อดำเนินการตัดทางสำหรับวางรางรถไฟนั้น เมื่อส่องกล้องแล้วพบว่าเส้นทางนั้นจะต้องถูกพระอุโบสถและองค์พระพุทธรูปพอดี ในคราวนั้นกล่าวกันว่า ได้เกิดอาเพศเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นจนนายช่างฝรั่งไม่สามารถที่จะทำการตัดเส้นทางให้เป็นแนวตรงได้จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทางใหม่เป็นแนวอ้อมโค้งดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น เครื่องบินข้าศึกได้มาทิ้งระเบิดเพลิงเพื่อทำลายย่านสถานีรถไฟธนบุรี แต่เนื่องจากสถานีรถไฟกับวัดมีเขตติดต่อกันจึงทำให้ปูชนียสถานต่างๆภายในวัดอมรินทรารามถูกไฟเผาทำลายเป็นส่วนมาก แม้แต่พระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโบสถ์น้อยก็ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ด้วย ดังปรากฏว่ามีหลุมระเบิดอยู่รอบๆพระอุโบสถ ในส่วนของเชิงชายพระอุโบสถก็ถูกไฟไหม้ แต่ในที่สุดไฟก็ดับได้เองเหมือนปาฏิหาริย์ และจากความรุนแรงของลูกระเบิดที่ตกลงมารอบพระอุโบสถครั้งนี้เป็นผลให้พระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ปั้นด้วยปูนถึงกับหักพังลงมา ในครั้งนั้นทางวัดได้นำพระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยไปฝากไว้ยังวัดอรุณราชวรารามเป็นการชั่วคราว เมื่อสงครามยุติลงวัดอมรินทรารามอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมากทางวัดจึงได้เริ่มดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุสถานต่างๆให้กลับมีสภาพดีดังเดิม ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าอยู่ในสภาพเสียหายมากจึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนใน พ.ศ.๒๕๐๔ พระอุโบสถหลังเก่าซึ่งเรียกกันว่า “โบสถ์น้อย” นั้น ยังคงเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโบสถ์น้อยดังเดิม และในส่วนการซ่อมแซมองค์พระพุทธรูปนั้นทางวัดได้อัญเชิญพระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยกลับคืนมาเพื่อหวังที่จะต่อเข้ากับองค์พระพุทธรูป แต่เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าพระเศียรของหลวงพ่อแตกร้าวเป็นส่วนใหญ่จึงตกลงที่จะปั้นพระเศียรของหลวงพ่อขึ้นใหม่โดยให้คงเค้าพระพักตร์เดิมไว้ เล่ากันว่าครั้งนั้นทางวัดได้เชิญบรรดาท่านผู้เฒ่าในบ้านช่างหล่อมาหลายท่านเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการดำเนินการปั้นพระเศียรหลวงพ่อขึ้นใหม่ ในที่สุดจึงเห็นควรให้ นายช่างโต ขำเดช เป็นผู้รับผิดชอบในการปั้นพระเศียร เนื่องจากเป็นผู้ที่เคยอุปสมบทในวัดอมรินทรารามมาหลายพรรษาจึงมีความคุ้นเคยในเค้าพระพักตร์หลวงพ่อโบสถ์น้อยมากกว่าผู้ใด ต่อมาในพ.ศ.๒๕๒๓ ได้มีการบูรณะหลวงพ่อโบสถ์น้อยขึ้นอีกครั้งหนึ่งเนื่องจากองค์พระพุทธรูปมีสภาพชำรุดหลายแห่ง ครั้งนั้นได้ทำการฉาบปูนลงรักปิดทองใหม่หมดทั้งองค์ พร้อมกันนี้ก็ได้บูรณะพระอุโบสถโดยการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา และซ่อมแซมส่วนต่างๆที่ชำรุดทรุดโทรมในคราวเดียวกัน เมื่อแล้วเสร็จจึงได้มีการเฉลิมฉลองสมโภชประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อโบสถ์น้อยประจำปี(ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้นจะจัดในเดือนเมษายน ราวกลางเดือน ๕) แต่ในปัจจุบันกำหนดให้วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันนมัสการประจำปีของหลวงพ่อโบสถ์น้อยเพื่อระลึกว่าในวันดังกล่าวได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่หลวงพ่อโบสถ์น้อยถูกภัยทางอากาศเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ (เรียบเรียงโดย แว่น วัดอรุณฯ) .. ขออนุญาตนำบทความของคุณแว่น วัดอรุณฯ มาเผยแผ่เพื่อเป็นวิทยาทาน ณ.ที่นี้ด้วยครับ **

2020-06-17 07:49:53
1357 ครั้ง
บ้านต้นไม้พระเครื่อง
081-1416959
bank-baantonmai