นางกวักวัดนก
รายละเอียด
โชว์พระ
...พระผงวัดนกพิมพ์เเม่นางกวักองค์นี้เป็นเนื้อผงผสมว่านเข้าน้ำมันวรรณะออกสีเขียวเข้ม(เขียว-เทา) สันนิษฐานว่าเป็นพระที่บรรจุอยู่ในตุ่มบนศาลา สำหรับพิมพ์เเม่นางกวักนี้ท่านว่าทำแจกเฉพาะเเม่ครัว สร้างน้อย พบเจอได้ไม่ง่าย ส่วนมากที่พบจะเป็นพระสภาพใช้ เพราะขึ้นชื่อเเละเลืองลือยิ่งนักด้านโชคลาภค้าขาย
1. ปฐมบทจัดสร้าง
พระผงวัดนก สันนิษฐานว่าจัดสร้างราวปี2450-2465 โดยหลวงปู่เฟื่อง เจ้าอธิการวัดองค์ต่อจากหลวงปู่เเก้ว ผู้เป็นพระอาจารย์เฒ่าที่มีอายุยืน ลักษณะการสร้างเป็นแบบกดพิมพ์เรื่อยมาตามเเต่วาระสำคัญหรือตามแต่สะดวก เช่น ในปี2451 หลวงปู่เฟื่องท่านได้รับพระราชพัดรองนารายณ์ทรงสุบรรณคราวงานเสด็จพระราชกุศลพระราชวังบางปะอิน พร้อมกับเกจิในอ่างทองและใกล้เคียงหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อเข็ม วัดข่อย หลวงปู่สุข วัดคงคาเดือด(วัดป่าหวาย) ฯลฯ หรืองานครบรอบเเซยิด หรืองานฉลองตราตั้งพระปลัด หรืองานประจำปีวัดต่างๆ อายุการจัดสร้างถึงปัจจุบันประมาณการได้มากกว่า100ปี หรือมีความเป็นไปได้ว่า มีการสร้างเพื่อให้พระอาจารย์เฒ่า(หลวงปู่แก้ว) ปลุกเสกเป็นปฐมฤกษ์ก่อนหลวงปู่เฟื่องท่านจะดำเนินการเรื่อยมา
2. เนื้อหา วรรณะ มวลสาร
พระผงวัดนก จากวรรณะ เนื้อหา มวลสาร ที่พบเห็น เป็นพระประเภทเนื้อผงผสมว่านเข้าน้ำมัน มวลสารที่มีสันนิษฐานได้ว่ามีว่าน ผง น้ำมันงา น้ำมันตังอิ้ว หรือเนื้อตำลึงคั้น และ เศษชิ้นส่วนพระเเตกหักวัดไชโยที่สมเด็จโตท่านสร้างไว้ คราวองค์พระมหาพุทธพิมพ์พังทลายลงในสมัยรัชกาลที่5 การผสมเเต่ละครกเเต่ละครั้งเเต่ละปีมวลสารคล้ายกันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง ทำให้วรรณะสีออกเเตกต่างกัน โดยรวมที่พบ เป็นสีเขียวหลักๆ จะมีเป็นแบบ
- สีเขียวเข้ม(เขียว-เทาดำ)
- สีเขียวหินลับมีดโกน(เขียว-เทา,เขียว-เหลือง)
- สีน้ำตาล ( น้ำตาล-เหลือง )
- สีขาว (เหลืองนวล)
3. เอกลักษณ์พบพระ
พระผงวัดนก จากการสืบค้น สามารถแยกลักษณะการเก็บรักษาและส่งต่อเป็น3ประเภท
- พระที่บรรจุกรุ ( กรุเก่า ไม่กล่าวถึงใหม่) เป็นพระที่พบในกรุเจดีย์หน้าวัดบริเวณทิศตะวันออกของวัดริมเเม่น้ำเจ้าพระยา พระชุดนี้มีการบรรจุอยูู่ปริมาณหนึ่งไม่มาก (หลักพันองค์ ไม่เเน่ชัดว่ากี่พันองค์) เนื้อหาเป็นพระที่ออกวรรณะสีเขียวหินลับมีดโกน ( เขียว-เทา , เขียว - เหลือง ) เป็นส่วนใหญ่ เกิดจากอุณหภูมิเเละอากาศที่ร้อนชื้นในเจดีย์เป็นเวลานานทำให้น้ำมันในองค์พระระเหยออกได้ไวเเละเร็ว เนื้อพระจึงแกร่งมันเห็นมวลสารชัด ปรากฏคราบกรุมากบ้างน้อยบ้างไม่เหมือนกัน คราบกรุจะติดเเน่น บางองค์อยู่ด้านบนจะมีคราบกรุบางๆ ส่วนตรงกลางจะมีคราบกรุขาวจากเนื้อพระติดเเน่น บางองค์อยู่ใต้ๆล่างๆจะมีคราบกรุฝุ่นเหลืองหนาเเน่น พระชุดนี้จะไม่ค่อยบิ่น
- พระที่บรรจุตุ่ม เป็นพระที่เมื่อทำเสร็จเเล้วท่านได้รวบรวมไว้ในตุ่มบนศาลากลาง 2 ตุ่ม ประมาณการได้ว่าหลักหลายหมื่นองค์ ( อาจจะมีเจตนาทำให้ครบจำนวน84,000องค์ตามพระธรรมขันธ์ ) เนื้อหาเป็นพระที่พบเห็นได้ทุกวรรณะสี จะปรากฏคราบราขาว คราบน้ำว่านผุด คราบกรุจากฝุ่นผง เกาะยึดไม่หนาเป็นลักษณะเกิดจากเนื้อในพระ พระชุดนี้ส่วนมากจะบิ่นขอบมุมจากการทับถมของพระจำนวนมาก กล่าวกันว่าแย่งกันตักซาวตวงยั่งกะหินตอนพระเริ่มดัง พระชุดนี้อยู่ที่วัดหลังจากหลวงปู่เฟื่องมรณะภาพเเล้วราว 50 ปีถึงจะหมดจากวัด ( 2467-2510 ) พระชุดนี้บางช่วงมีการชักลอกไปที่หน้าท่าเพื่อให้ชาวเรือได้หยิบไปใช้และหาปัจจัยเข้าวัด บางวันที่น้ำขึ้นพระก็เเช่น้ำ บางวันน้ำลงก็แห้งไม่ถูกน้ำเพราะไม่ได้ชักลอกขึ้นเก็บทุกวัน เนื้อหาบางองค์จึงออกเกลี้ยงๆไม่ค่อยเห็นคราบน้ำว่าน หรือราขาว
- พระที่พิมพ์สำเร็จเเล้วเเจกจ่ายเลย พระชุดนี้มี2กรณี คือพระที่สวยสมบูรณ์ เป็นพระที่ได้รับไปแล้วเก็บไม่มีการใช้งานจากบรรพบุรุษ และอีกกรณีคือพระที่ใช้ช้ำสึก คือพระที่ได้รับไปแล้วนำไปใช้ติดตัวมากด้วยประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น
4. พิมพ์พระ
พระผงวัดนกจากการสืบค้นจากตำราเเละพบเจอ สามารถแยกได้ทั้งหมด10พิมพ์ เเต่ละพิมพ์อาจมี2-4บล็อคตามปริมาณการพิมพ์เเละการชำรุดของบล็อคเช่น พิมพ์ซุ้มประภามณฑลรัศมีฐานบัวเม็ด เดิมทีบล็อคสมบูรณ์จะปรากฏบัวนับได้10เม็ด เเต่เมื่อพิมพ์ไปแล้วบล็อคเกิดชำรุดในเม็ดบัวล่างซ้ายองค์พระ ทำให้พิมพ์พระออกมามีเม็ดบัว 9 เม็ด ( บางท่านก็เรียก บัว9, บัว10 ก็มี ) เเต่การจำแนกเเยกพิมพ์เเบ่งได้เป็น2กลุ่มตามขนาดองค์พระใหญ่-เล็กดังนี้
- กลุ่มพิมพ์ใหญ่ ขนาด 1.8-2.1 ซ.ม. (โดยประมาณ) มี3พิมพ์ ได้เเก่ พิมพ์ครอบแก้วคู่ , พิมพ์ข้างยันต์(แซยิด) , พิมพ์แม่นางกวัก
- กลุ่มพิมพ์เล็ก ขนาด 1.0-1.8 ซ.ม. (โดยประมาณ) มี7พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ฐาน3ชั้นซุ้มเเหลม , พิมพ์ประภามณฑลรัศมี , พิมพ์ครอบแก้วฐานบัวกลีบ,พิมพ์แบบสมเด็จฐาน5 ชั้น , พิมพ์เส้นด้าย , พิมพ์ซุ้มชินราช , พิมพ์ซุ้มปราสาท(หรือซุ้มเรือนแก้ว)
2935 ครั้ง
AonQC
081-3763903
081-3763903