พระพุทธชินราช อินโดจีน วัดสุทัศน์ มีโค๊ต ปี ๒๔๘๕ พิมพ์แต่งใหม่ โดยช่างโอเล็ก
รายละเอียด
โชว์พระ
ชื่อพระ :
พระพุทธชินราช อินโดจีน วัดสุทัศน์
รายละเอียด :
พระพุทธชินราช อินโดจีน วัดสุทัศน์ มีโค๊ต ปี ๒๔๘๕ พิมพ์แต่งใหม่ โดยช่างโอเล็ก
สภาพแชมป์ หูตากะพริบ จมูกโด่งเฟี้ยว พุทธศิลป์งดงามวิจิตร แต่งมานานเป็นสิบปีๆโดยสุดยอดช่างแต่งพระชินราชอินโดจีน-ช่างโอเล็ก
พระพุทธชินราชอินโดจีน
สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ประธาน พระคณาจารย์ ๑๐๘ รูป ร่วมปลุกเสก.
คำขวัญที่ว่า สงครามมักก่อเกิดวีรบุรุษ แต่คงใช้กับเมืองไทยไม่ได้ คำขวัญของคนไทย คงต้องว่า สงครามมักก่อเกิดพระดัง ไม่มีสมัยไหน ที่คนไทยจะตื่นตัวและเกิดเลือดรักชาติมาก เท่าสมัยสงครามอินโดจีน อาจจะเป็นว่าคนไทย คงเก็บกดที่ถูก พวกฝรั่งมังค่า มากดขี่ยึดแผ่นดินบางส่วนของเราไป เมื่อจอมพลป.ประกาศสงครามกับฝรั่งเศส เพื่อเรียกร้องดินแดนคืน ทำให้กระแสรักชาติช่วงนั้นรุนแรงมาก แม้แต่พระเกจิอาจารย์ ก็ตื่นตัว อยากจะช่วยบ้านเมือง จึงมีการสร้างพระเครื่องขึ้นมากมาย เฉพาะที่กรุงเทพฯวัดใหญ่ๆเช่น วัดสุทัศน์ วัดชนะสงคราม วัดราชบพิตฯ แม้แต่ที่วัดดอนศาลา พระอาจารย์เอียดก็สร้างพระขึ้นมาแจกในยุคนั้นเช่นกัน
พระพุทธชินราชอินโดจีน
เมื่อปี ๒๔๘๓ กลิ่นอายสงครามได้กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคอินโดจีน หลายประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม ประเทศไทยก็คือหนึ่งในนั้น ทั้งๆ ที่พยายามหลีกเลี่ยงทุกวิถีทาง เพราะรัฐบาลและคนไทยต่างก็รู้ดีว่า ผลพวงจากสงครามท้ายที่สุดแล้วก็จะเหลือแค่เพียง “ความสูญเสีย” ในภาวะสงครามสิ่งที่เป็นเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยก็คือ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์-พระคู่บ้านคู่เมือง” แต่สำหรับทหารที่ต้องอยู่แนวหน้า “พระเครื่อง” ถือเป็นมงคลวัตถุคู่กายที่หลายคนต้องพกพาหาติดตัวไป
ด้วยเหตุนี้เอง ชาวไทยในแนวหลัง นำโดย “พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย” จึงตัดสินใจดำเนินงานสร้าง “พระพุทธชินราช” จำลองขนาดบูชาขึ้นมา พร้อมทั้ง พระพุทธชินราชขนาดเล็กแบบหล่อที่สามารถคล้องคอได้ ซึ่งแต่เดิมเป็นความตั้งใจของ ๒ สมาคมพุทธฯ คือ “พุทธธรรมสมาคม” และ “ยุวพุทธศาสนิกธรรม” แต่ต้องระงับเรื่องค้างไว้ตั้งแต่ปี ๒๔๘๓ เพราะเกิดสงครามอย่างหนัก และเมื่อสงครามอินโดจีนสงบลง ในปี ๒๔๘๕ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย จึงเดินหน้าสานงานสร้าง “พระพุทธชินราช” อย่างจริงจัง
พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ ได้ประกอบพิธี เททองหล่อ ที่วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ ก่อนที่คณะกรรมการ พุทธสมาคมจะมากราบทูล ขอพระเมตตา ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) วัดสุทัศนเทพวราราม ในเรื่องการประกอบพิธีพุทธาภิเษก
ทั้งนี้พระองค์ทรงพระเมตตาให้คณะกรรมการพุทธสมาคมนำพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งานผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งได้ ทำพิธี เททองหล่อพระตามตำรับตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ของวัดสุทัศน์อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
พิธีพุทธาภิเษกที่จัดขึ้นในเวลานั้นถือว่ายิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ จนเป็นที่กล่าวขวัญมาถึงทุกวันนี้ เพราะพระคณาจารย์ ทั่วประเทศแ ละพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นได้มอบแผ่นพระยันต์ พร้อมทั้งเดินทางมาร่วม เมตตาอธิษฐานจิต กันอย่างมากมาย
การสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ พล.ร.ต.หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์นายกพุทธสมาคมและคณะกรรมการ กำหนดไว้ให้สร้างเพียงแค่ ๒ แบบ คือ พระบูชา และ พระเครื่อง โดยได้กรมศิลปากรเข้ามาช่วยดูแลการหล่อและออกแบบพิมพ์พระ พระบูชา ที่จัดสร้างในคราวนี้ได้จำลองแบบจากองค์พระพุทธชินราช วัดใหญ่ เมืองพิษณุโลก โดยใช้กรรมวิธีการหล่อเป็นพระขัดเงา จากหลักฐานบันทึก การสร้าง ได้ระบุไว้ว่า
“พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในครั้งนี้มีขนาดหน้าตักค่อนข้างใหญ่ ก่อนจะส่งไป ให้ทุกจังหวัด ทั่วเมืองไทยไว้สักการบูชา และถ้าประชาชนคนไหน ปรารถนา อยากได้ พระบูชาไว้เป็น ส่วนตัว ต้องแจ้งความจำนงเป็น ลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้ง ส่งเงินค่าจัดสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท ไปให้คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้ช่างจัดสร้าง ตามจำนวนที่แจ้งความจำนงไว้เท่านั้น”
ในส่วนของ พระเครื่อง คณะผู้ดำเนินงานได้ใช้กรรมวิธี ๒ แบบ คือ “หล่อ” และ “ปั๊ม” พระหล่อ จัดสร้างประมาณ ๙๐,๐๐๐ องค์ เป็นพระเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลือง เป็นหลัก แต่สุดท้าย คัดเหลือ สภาพสมบูรณ์ ๘๔,๐๐๐ องค์ ซึ่งให้ความหมายเท่ากับพระธรรมขันธ์
เสน่ห์ของพระเครื่องพระพุทธชินราชแบบหล่อจะอยู่ที่ผิวพระและโค้ดใต้ ฐาน จะตอกเป็นรูปตรา “ธรรมจักร” และ “อกเลา” ซึ่งอกเลานี้ได้คัดลอกแบบ มาจากรูปอกเลาที่ติดอยู่หน้าบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) จ. พิษณุโลก
พระพุทธชินราชแบบหล่อนี้ในตอนแรกได้หล่อ “อกเลานูน” ติดไว้บริเวณใต้ฐานพระ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นก้นเรียบ แล้วใช้วิธีตอกโค้ดแทนจนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ดังนั้นพระในส่วนที่เหลือจึงไม่ได้ตอกโค้ด
ในส่วนของราคาทางพุทธสมาคม นำออกให้เช่า บูชาองค์ละ ๑ บาท ถ้าองค์ไหนที่สภาพ สวยสมบูรณ์ราคาจะอยู่ที่ ๑.๕๐ บาท สำหรับพระพุทธชินราชแบบปั๊มได้ทำเป็นเหรียญลักษณะคล้ายใบเสมา ด้านหน้าเป็น รูปพระพุทธชินราชมีซุ้มเรือนแก้ว ส่วนด้านหลัง เป็นรูปอกเลา สร้างเป็น เนื้อทองแดงรมดำ จำนวน ๓,๐๐๐ เหรียญ ราคาค่าบูชาเหรียญละ ๕๐ สตางค์ สำหรับเหรียญรุ่นนี้ อนาคตจะกลายเป็นหนึ่งในสุดยอดเหรียญยอดนิยม ของวงการ
ราคา :
55,000
ร้าน :
พลศรีทองพระเครื่อง
โทรศัพท์ :
0877124640
1710 ครั้ง
พลศรีทองพระเครื่อง ( บู เชียงราย )
0877124640
busoftware52