พระกรุวัดราชนัดดา กทม. พิมพ์ปรกโพธิ์เล็บมือ เนื้อดินเผา
รายละเอียด
ราคา (1,200 บาท)
.. พระกรุวัดราชนัดดา ตามประวัติเล่าว่า เมื่อพ.ศ.๒๕๑๔ รถบรรทุกขนวัสดุในการก่อสร้างโลหะปราสาทได้ชนพระเจดีย์องค์หนึ่งภายในวัดราชนัดดา พระเจดีย์องค์นี้สูงประมาณ ๓ วา อยู่นอกเขตพุทธาวาสทางด้านทิศใต้ คืออยู่ข้างทางเดินเข้าวัดทางด้านถนนมหาชัย และอยู่กึ่งกลางระหว่างพระฉายกับหอระฆัง .. พระเจดีย์เมื่อถูกรถชนได้พังทลายลงมา ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงได้เข้าไปคุ้ยตามซากพระเจดีย์ ก็พบพระเครื่องเข้าจำนวนหนึ่ง เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไปก็มีชาวบ้านมาคุ้ยหาพระเครื่องกันเรื่อย ๆ โดยตอนแรกทางวัดยังไม่ทราบเรื่องพระแตกกรุจากองค์พระเจดีย์ล้ม ต่อมาชาวบ้านที่ไปขุดคุ้ยหาพระเครื่องได้นำพระที่ได้มาออกไปขายจนเป็นข่าวกระจายออกไป เมื่อทางวัดทราบข่าว เจ้าอาวาสจึงให้พระลูกวัดไปทำการสำรวจและทำการขุดเอาพระที่เหลือมาเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของทางวัดต่อไป
.. ตอนที่จะทำการขุดรื้อพระเจดีย์เพื่อเอาพระขึ้นมาเก็บรักษา ขณะนั้นเป็นเวลาตอนเย็น แต่เมื่อขุดลงไปจนถึงบริเวณที่เป็นกรุพระแล้วก็ไม่อาจเอาพระขึ้นมาจากกรุได้ เนื่องจากขณะนั้นได้มีชาวบ้านที่ทราบข่าวว่ามีการขุดกรุได้พากันมามุงดูกันเป็นจำนวนมาก และพยายามจะเฮโลเข้าแย่งพระกัน ทางวัดจึงได้ขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจสำราญราษฏร์มาทำการรักษาความสงบจำนวนสองนาย แต่ก็ยังไม่อาจจะเอาพระขึ้นมาได้อยู่ดี เพราะชาวบ้านที่มามุงดูมีจำนวนมากเกินไป จึงได้แต่รักษาความสงบอยู่อย่างนั้นมาตลอด .. ครั้งพอถึงเวลา ๐๓.๐๐ น. ชาวบ้านที่มามุงดูได้กลับไปแล้วเหลืออยู่เพียงไม่กี่คน ทางวัดจึงได้ทำการขุดเอาพระขึ้นมาและทำการขุดเสร็จสิ้นเอาเมื่อเวลา ๑๐.๓๐ น. ของวันต่อมา
.. พระเครื่องที่ขุดขึ้นมาทั้งหมดประมาณ ๒ กระสอบ คำนวนแล้วก็ได้เป็นหมื่นๆองค์ โดยเป็นพระเนื้อดินเผาทั้งหมด แบ่งเป็นพิมพ์แล้วได้มากกว่า ๑๐ พิมพ์ เช่น พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์... พิมพ์ซุ้มกอกำแพงเพชร... พิมพ์พระผงสุพรรณ... พิมพ์สมาธิห้าเหลี่ยมปรกโพธิ์... พิมพ์ยืนประทานพร... พิมพ์ยืนรำพึง ...พิมพ์ฐานผ้าทิพย์ ...พิมพ์ป่าเลไลยก์... พิมพ์อัครสาวก ...พิมพ์ปิดทวาร... พิมพ์ช้างป่าเลไลยก์ชูกระบอกน้ำ ...และ ปางประจำวันอีกส่วนหนึ่ง...ฯลฯ
.. พระกรุวัดราชนัดดา เป็นพระเนื้อดินเผา มีหลายโซนสี และลักษณะที่พบบ่อยจะเป็นเนื้อออกสีน้ำตาลอ่อน มักจะปรากฏรารักสีดำประปรายตามผิว เกิดจากธรรมชาติร้อนชื้นภายในกรุ เนื้อไม่แน่นตัวและหนึกนุ่มเหมือนพระกรุเมืองกำแพงเพชร ... ส่วนเรื่องประวัติว่าใครเป็นผู้สร้างไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แต่ดูจากศิลปะและอายุความเก่าพระกรุวัดราชนัดดาน่าจะสร้างอยู่ในราวสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึง รัชกาลที่ ๖ อายุคงราวๆ ๑๕๐ ปีโดยประมาณ .. ค่านิยมเช่าหาสำหรับพระกรุนี้ก็ยังถือว่าไม่สูงมากนักถ้าเทียบกับอายุเกินร้อยปีเปรียบเป็นวัตถุโบราณได้แล้ว .. มีมากมายหลายพิมพ์ให้เลือกเก็บสะสม เป็นของดีอีกกรุหนึ่งของเมืองหลวงที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเป็นพระดี ชัดเจนเรื่องที่มาที่ไป และมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง (เช่นเดียวกับพระกรุวัดลิงขบ เนื้อดินเผา หรือ พระหลวงพ่อเข่ง วัดพระพิเรนทร์)
.
.. องค์นี้อยู่ในชุดเล็กสุด พิมพ์เล็บมือปรกโพธิ์เก้าใบ ขัดสมาธิเพชร (ขนาดประมาณเหรียญห้าสิบสตางค์) .. เนื้อหาและพิมพ์ทรงมาตรฐานพระกรุนี้แน่นอนครับ รารักบางๆ แต่กระจายทั่วๆ และ มีจุ่มรักแดงรักษาผิวมาเก่าครับ ธรรมชาติศึกษาง่ายๆ ได้ความเก่า ได้พิมพ์มาตรฐาน ได้ส่องรักแห้งเก่า วงการยอมรับ มีงานประกวดบ่อยๆครับ กรุดี ไม่มีหลงทาง...
779 ครั้ง
บ้านต้นไม้พระเครื่อง
081-1416959
bank-baantonmai