พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี2485(องค์2)สังฆาฏิยาว ไม่มีโค๊ด เนื้อโลหะผสม ผิวเข้มๆเดิมๆ+บัตรรับประกัน
รายละเอียด
ราคา (20,000 บาท)
การสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีนปี2485
เหตุใดจึงเรียกว่า พระพุทธชินราชอินโดจีน กลับไปเมื่อประมาณปี พ.ศ.2483-2484 ประเทศไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องสิทธิเหนือแดนอินโดจีน ที่ฝรั่งเศสบุกเข้ามายึดครองไปจากไทย และในช่วงนั้นพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยมี พลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกสมาคมฯ ปรารภที่จะสร้างรูปหล่อพระพุทธชินราชขึ้น แต่ก็ติดขัดเรื่องสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ จึงยังไม่ได้ดำเนินการสร้าง กระทั่งล่วงมาถึงปี พ.ศ.2485 ภายหลังสถานการณ์กรณีพิพาทกับฝรั่งเศสคลี่คลายลง พร้อมทั้งสงครามโลกครั้งที่2 กำลังจะเริ่มขึ้น จึงได้มีโอกาสเริ่มดำเนินการสร้างตามความปรารภจนแล้วเสร็นในที่สุด กระนั้นคนก็ยังนิยมเรียกพระพุทธชินราชรุ่นนี้ว่า รุ่นอินโดจีน ตามสถานการณ์ช่วงปรารภจะจัดสร้าง จึงเป็นที่มาของชื่อรุ่น พระพุทธชินราชรุ่นนี้ไปโดยปริยายตราบจนปัจจุบัน กำหนดการจัดพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราช แรกเริ่มจะมีการเททองหล่อที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก วัดต้นกำเนิดของพระพุทธชินราช ซึ่งกำหนดเป็นวันเสาร์ ขึ้น5ค่ำ ตรงกับวันที่1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 แต่มีเหตุต้องเปลี่ยนสถานที่การเททองมาเป็นที่หน้าพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯแทน เนื่องจากช่วงนั้นเกิดภาวะสงครามโลก อีกทั้งประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตรไปเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2485 ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยและสะดวกในการเดินทาง จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่ดังกล่าว การเททองหล่อที่วัดสุทัศน์ฯในครั้งนั้น มีสมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทโว ทรงเป็นประธานฯ และท่านเจ้าคุณศรีฯ สนธ์ เป็นแม่งานผู้ดำเนินการ ทำพิธี ณ มณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย ก่อนที่จะมอบหมายให้ช่างแต่ละโรงงานรับช่วงไปดำเนินการต่อจนแล้วเสร็จ ชนวนมวลสารที่ใช้หล่อพระพุทธชินราชในครั้งนั้นประกอบไปด้วย ชนวนโลหะของวัดสุทัศน์ฯ แผ่นจารจากพระเกจิคณาจารย์ต่างๆ รวมทั้งโลหะประเภททองเหลืองที่ประชาชนนำมาบริจาคให้ ภายหลังโรงงานหล่อเสร็จเรียบร้อยและนำมาส่งมอบให้พุทธสมาคมฯ จึงนำพระเหล่านั้นมาทำการตอกโค๊ด การตอกโค๊ดในครั้งนั้นตอกได้ไม่ครบหมดทุกองค์ เพราะโค๊ดเกิดการชำรุเสียหาย จะแกะใหม่ก็เกรงจะไม่ทันการพิธี จึงนำพระทั้งหมดทั้งที่ตอกและไม่ตอกเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดสุทัศน์ฯ แล้วจึงนำพระดังกล่าวออกแจกจ่ายแก่ทหารหาญและประชาชนที่ได้สั่งจองไว้ พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธชินราชอินโดจีนเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของเมืองไทย
ส่วนพิธีที่จัดได้ยิ่งใหญ่เป็นอันดับ2 คือพิธี25พุทธศตวรรษ ปีพ.ศ. 2500 นั่นเอง พิธีในครั้งนั้นมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังแห่งยุคมาร่วมพิธีอย่างคับคั่ง มูลเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนั้น เนื่องจากองค์ประธานในการจัดสร้างเป็นถึงอธิบดีของสงฆ์ หรือเป็นถึงสมเด็จพระสังฆราชฯ ทำให้พระเกจิคณาจารย์ต่างๆ พร้อมใจมาร่วมพิธีกันอย่างไม่เคยมีมาก่อน รวมแล้วถึงประมาณ 108 รูป พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองไทยมาช้านาน และเป็นพระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความเคารพนับถือมากที่สุดองค์หนึ่ง สร้างในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ ที่เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะสุโขทัยและศิลปะเชียงแสน กลายมาเป็นศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ที่งดงาม เป็นพระปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 5ศอก 1คืบ 5นิ้ว สูง 7ศอก 1คืบ สร้างจากโลหะประเภทสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง ประดิษฐาน ณ พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก......
โดยมีราชนามพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกปลุกเสก 108 องค์ ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
1.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์
2.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์
3. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง
6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู
7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
8. หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
9.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง
10. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์
19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส
21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ
22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์
23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา
24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้
29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี
30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง
31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ
32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม
34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ
35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน
36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน
37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด
38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ
40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์
41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ
42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ
43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง
44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน
45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ
46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ
47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ
48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ
49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม
50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์
51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ
52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา
53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
54. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ
56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน
57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส 5
8.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง
59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว
60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม
62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง
63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ
65. หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า
70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง
71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา
72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง
73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า
74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี
75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ
76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม
77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม
78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์
79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว
80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง
81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง
82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร
83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ
84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ
85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา
88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ
89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม
90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา
91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม
92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์
93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม
95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง
96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
97.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร
98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร
99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ
100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด
101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย
102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ
103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ
104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง
105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา
106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น
107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ
108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี)
สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร)ทรงตรัสไว้ว่า “การปลุกเสกพระหรือเครื่องรางของขลังวัดไหน ก็สู้วัดสุทัศน์ไม่ได้” ทั้งนี้เป็นเพราะในพระอุโบสถที่ใช้เป็นปริมณฑลสำหรับพิธีปลุกเสกนั้น พรั่งพร้อมไปด้วยอรหันต์เจ้า(ชั้นผู้ใหญ่) ครบถ้วนถึง ๘๐ พระองค์ ของขลังและวัตถุมงคลจึงมีความขลังและประสิทธิ์ยิ่งนัก เพราะท่านได้ร่ำเรียนและปฏิบัติถูกต้องตามตำราแบบครบสูตร วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังทั้งหลายยิ่งนานวันจึงยิ่งปรากฏชื่อเสียงและเกียรติคุณมากยิ่งขึ้นตลอดมา จนเป็นสิ่งที่ประสงค์จะได้ครอบครองของนักนิยมสะสมพระเครื่องโดยทั่วไป ปัจจุบันสนนราคาก็ทวีค่าสูงขึ้นเป็นลำดับทั้งยังเสาะแสวงหาได้ยากอีกต่างหาก
++++การันตีโดย ชมรมศิลป์ส่องพระ++++
+++พระองค์นี้รับประกันแท้ตลอดชีพ ถ้าพระองค์นี้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าไม่แท้และมีหลักฐานยืนยัน ยินดีคืนเงินเต็มจำนวนตลอดชีพ และในภายหน้าถ้าท่านต้องการขายพระที่มีบัตรนี้ ทางศูนย์ยินดีรับซื้อคืนในราคาหลังบัตร หรือ15-30%โดยประมาณจากราคาตลาด จะเก็บไว้ทั้งทีเลือกที่มีบัตรรับรองไว้นะครับ เพราะพระที่มีบัตรนั้นเป็นพระนิยมของวงการ และยืนยันความแท้มีไว้ได้เป็นองค์ครู เจอที่ไหนก็แยกแยะได้ว่าเก๊หรือแท้ ไม่หลงทาง ศึกษาจากของจริงของแท้ไม่นานก็ติดตาขึ้นใจแล้วครับ ออกตัวก็มีกำไร มีของแท้ไว้อุ่นใจสบายใจได้อนาคต++++by chettsongpra
+++This amulet get a lifelong warranty. If you are audited there was spurious. My shop Refund the full amount lifelong. And in the future if you want to sell amulet with the warranty card. Center for buy back at QR code back of the card price. Or 15-30% estimated from the market price. Select amulets with warranty card kept reassuring. Because the Amulet with Warranty card is that the popularity of the amulet association. And confirm the authenticity, A master amulet , you could tell where spurious or genuine, do not stray. Study from a master amulet real, is easy and quick understand. Have a genuine is happy, assured in the future. By chettsongpra
12609 ครั้ง
ศิลป์ส่องพระ by chettsongpra
081-6865899
chettsongpra