พระกรุวัดราชนัดดา กทม. พิมพ์ปรกโพธิ์เล็บมือ เนื้อดินเผา
รายละเอียด
ขายแล้ว
.. พระกรุวัดราชนัดดา ตามประวัติเล่าว่า เมื่อพ.ศ.๒๕๑๔ รถบรรทุกขนวัสดุในการก่อสร้างโลหะปราสาทได้ชนพระเจดีย์องค์หนึ่งภายในวัดราชนัดดา พระเจดีย์องค์นี้สูงประมาณ ๓ วา อยู่นอกเขตพุทธาวาสทางด้านทิศใต้ คืออยู่ข้างทางเดินเข้าวัดทางด้านถนนมหาชัย และอยู่กึ่งกลางระหว่างพระฉายกับหอระฆัง .. พระเจดีย์เมื่อถูกรถชนได้พังทลายลงมา ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงได้เข้าไปคุ้ยตามซากพระเจดีย์ ก็พบพระเครื่องเข้าจำนวนหนึ่ง เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไปก็มีชาวบ้านมาคุ้ยหาพระเครื่องกันเรื่อย ๆ โดยตอนแรกทางวัดยังไม่ทราบเรื่องพระแตกกรุจากองค์พระเจดีย์ล้ม ต่อมาชาวบ้านที่ไปขุดคุ้ยหาพระเครื่องได้นำพระที่ได้มาออกไปขายจนเป็นข่าวกระจายออกไป เมื่อทางวัดทราบข่าว เจ้าอาวาสจึงให้พระลูกวัดไปทำการสำรวจและทำการขุดเอาพระที่เหลือมาเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของทางวัดต่อไป
.. ตอนที่จะทำการขุดรื้อพระเจดีย์เพื่อเอาพระขึ้นมาเก็บรักษา ขณะนั้นเป็นเวลาตอนเย็น แต่เมื่อขุดลงไปจนถึงบริเวณที่เป็นกรุพระแล้วก็ไม่อาจเอาพระขึ้นมาจากกรุได้ เนื่องจากขณะนั้นได้มีชาวบ้านที่ทราบข่าวว่ามีการขุดกรุได้พากันมามุงดูกันเป็นจำนวนมาก และพยายามจะเฮโลเข้าแย่งพระกัน ทางวัดจึงได้ขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจสำราญราษฏร์มาทำการรักษาความสงบจำนวนสองนาย แต่ก็ยังไม่อาจจะเอาพระขึ้นมาได้อยู่ดี เพราะชาวบ้านที่มามุงดูมีจำนวนมากเกินไป จึงได้แต่รักษาความสงบอยู่อย่างนั้นมาตลอด .. ครั้งพอถึงเวลา ๐๓.๐๐ น. ชาวบ้านที่มามุงดูได้กลับไปแล้วเหลืออยู่เพียงไม่กี่คน ทางวัดจึงได้ทำการขุดเอาพระขึ้นมาและทำการขุดเสร็จสิ้นเอาเมื่อเวลา ๑๐.๓๐ น. ของวันต่อมา
.. พระเครื่องที่ขุดขึ้นมาทั้งหมดประมาณ ๒ กระสอบ คำนวนแล้วก็ได้เป็นหมื่นๆองค์ โดยเป็นพระเนื้อดินเผาทั้งหมด แบ่งเป็นพิมพ์แล้วได้มากกว่า ๑๐ พิมพ์ เช่น พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์... พิมพ์ซุ้มกอกำแพงเพชร... พิมพ์พระผงสุพรรณ... พิมพ์สมาธิห้าเหลี่ยมปรกโพธิ์... พิมพ์ยืนประทานพร... พิมพ์ยืนรำพึง ...พิมพ์ฐานผ้าทิพย์ ...พิมพ์ป่าเลไลยก์... พิมพ์อัครสาวก ...พิมพ์ปิดทวาร... พิมพ์ช้างป่าเลไลยก์ชูกระบอกน้ำ ...และ ปางประจำวันอีกส่วนหนึ่ง...ฯลฯ
.. พระกรุวัดราชนัดดา เป็นพระเนื้อดินเผา มีหลายโซนสี และลักษณะที่พบบ่อยจะเป็นเนื้อออกสีน้ำตาลอ่อน มักจะปรากฏรารักสีดำประปรายตามผิว เกิดจากธรรมชาติร้อนชื้นภายในกรุ เนื้อไม่แน่นตัวและหนึกนุ่มเหมือนพระกรุเมืองกำแพงเพชร ... ส่วนเรื่องประวัติว่าใครเป็นผู้สร้างไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แต่ดูจากศิลปะและอายุความเก่าพระกรุวัดราชนัดดาน่าจะสร้างอยู่ในราวสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึง รัชกาลที่ ๖ อายุคงราวๆ ๑๕๐ ปีโดยประมาณ .. ค่านิยมเช่าหาสำหรับพระกรุนี้ก็ยังถือว่าไม่สูงมากนักถ้าเทียบกับอายุเกินร้อยปีเปรียบเป็นวัตถุโบราณได้แล้ว .. มีมากมายหลายพิมพ์ให้เลือกเก็บสะสม เป็นของดีอีกกรุหนึ่งของเมืองหลวงที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเป็นพระดี ชัดเจนเรื่องที่มาที่ไป และมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง (เช่นเดียวกับพระกรุวัดลิงขบ เนื้อดินเผา หรือ พระหลวงพ่อเข่ง วัดพระพิเรนทร์)
.. องค์นี้อยู่ในชุดเล็กสุด พิมพ์เล็บมือปรกโพธิ์เก้าใบ ขัดสมาธิเพชร (ขนาดประมาณเหรียญห้าสิบสตางค์) .. เนื้อหาและพิมพ์ทรงมาตรฐานพระกรุนี้แน่นอนครับ รารักบางๆ แต่กระจายทั่วๆ ธรรมชาติศึกษาง่ายๆ ได้ความเก่า ได้พิมพ์มาตรฐาน วงการยอมรับ มีงานประกวดบ่อยๆครับ กรุดี ไม่มีหลงทาง...
988 ครั้ง
บ้านต้นไม้พระเครื่อง
081-1416959
bank-baantonmai