รูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปี๒๕๑๕ พิมพ์นิยม(คอแอลL) เนื้ออัลปาก้า
รายละเอียด
โชว์พระ
.. "วัดบางคลาน" ชื่อเต็มคือ "วัดหิรัญญาราม" แต่เดิมมีชื่อว่า "วัดวังตะโก" ตั้งอยู่ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
.. นอกจากรูปหล่อรุ่นแรก หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ที่แพงที่สุด พอถึงยุคใหม่ก็ต้อง "รุ่นปี๑๕" โดยเฉพาะที่ออกโดยตรงวัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร .. พิมพ์นิยม (คอแอลL) ราคาหลายแสนแล้วครับ รวมทั้งพิมพ์อื่นๆ เช่นเหรียญจอบ ก็ขึ้นหลักแสนทั้งนั้น ทั้งๆที่เพิ่งสร้างเมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๕ นี่เอง
.. สำหรับ "รุ่นปี๑๕" นี้ พระครูพิบูลธรรมเวท หรือ หลวงพ่อเปรื่อง เจ้าอาวาสวัดบางคลาน ต้องการหาปัจจัยบูรณะพระอุโบสถ โดยมี สมเด็จพระวันรัตฯ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) กทม. เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พลตำรวจเอกสง่า กิตติขจร รมช.ต่างประเทศ(ขณะนั้น) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส .. การลงอักระแผ่นโลหะที่นำมาเป็นชนวนมวลสาร ได้มาจากพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงจากทั่วประเทศ จำนวน ๗๔ รูป .. นำไปหลอมและปั๊มเป็นรูปเหมือน และเหรียญ .. มีพิธีพุทธาภิเษกสองครั้ง (ครั้งแรก) : ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๔ นิมนต์พระคณาจารย์จากทั่วประเทศรวม 127รูป (ครั้งที่สอง) : ที่วัดบางคลาน พิจิตร วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕ โดยมีพระคณาจารย์ร่วมพิธี 96 รูป .. ด้วยเหตุนี้ โค้ดที่ตอกใต้ฐานรูปเหมือนจึงมีเลขไทยเป็น "๑๔-๑๕" อยู่ในวงกลม หมายถึงการสร้างและเสกคาบเกี่ยวกันสองปี ซึ่งติดเต็มบ้างไม่เต็มบ้าง และไม่จำเป็นต้องมีโค้ดทุกองค์
.. รูปเหมือนรุ่นนี้ ศิลปะเหมือน "รูปหล่อโบราณรุ่นแรก พิมพ์นิยม" แต่เป็นการใช้เครื่องจักรปั๊มกระแทกเหมือนเหรียญ องค์พระกลวง บรรจุเม็ดกริ่ง ปิดทับด้วยทองเหลือง แบ่งเป็น เนื้ออัลปาก้า สร้าง 1,000 องค์ ออกทำบุญองค์ละ 100 บาท และ เนื้อทองเหลือง สร้าง 1,000 องค์เท่ากัน ออกทำบุญองค์ละ 50 บาท .. แบ่งเป็น พิมพ์คอแอลL , มือมีจุด , มือเลขแปด และ พิมพ์นับแบ๊งค์ (เนื่องจากจำนวนสร้างน้อยสุดๆ จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกศิษย์ผู้นับถือศรัทธา ค่านิยมจึงพุ่งแรงมากสำหรับพระสร้างใหม่)
.. วงการกำหนดพิมพ์ที่นิยมที่สุดคือ "พิมพ์คอแอลL" ซึ่งมีทั้งเนื้ออัลปาก้าและเนื้อทองเหลือง เอกลักษณ์พิมพ์คือที่คอด้านขวาของหลวงพ่อมีเส้นลากลงมาเป็นตัวแอลตัวใหญ่L .. มีเส้นน้ำตกตรงปลายคางเชื่อมกับเนื้อคอ และเนื่องจากเป็นพระปั๊มจึงมีการแต่งรอยตะเข็บด้านข้างด้วยตะไบให้รอยหายไป และในร่องระหว่างสังฆาฏิกับชายจีวรซ้ายมือจะมีรอยแต่งด้วยการแทงตะไบในซอก มองเห็นเส้นริ้วจีวรด้านขวาองค์พระสามเส้น และด้านที่พันแขนซ้ายเจ็ดเส้น
.. ผิวของพระจะตึงแน่นคมชัด มีเส้นขีดตรงหัวตาซ้าย ส่วนในหูจะมีส่วนเกิน(ตัดเกิน)ออกมาจากรูปหูและมีติ่งเม็ด .. ใต้ฐานหากเป็นเนื้ออัลปาก้าใช้มือลูบเบาๆจะแอ่นเป็นท้องกระทะเล็กน้อย หากเป็นทองเหลืองจะตึงไม่แอ่น และมีเส้นรอยปั๊มตัดใต้ฐานเป็นวงเดือน .. ส่วนด้านหลังในทุกพิมพ์จะเหมือนกัน หลังใบหูมีเส้นเรียวคมชัดวิ่งขนานกับริมหู .. สระ "อิ" คำว่าเงิน มีลักษณะเหมือนหัวลูกศรปลายอยู่ล่าง .. หากวัดขนาดคร่าวๆจะมีฐานกว้างประมาณ 1.6-1.7 ซ.ม. ความสูงจากฐานถึงยอดพระเศียรประมาณ 2.4-2.5 ซ.ม. ส่วนทองเหลืองกลมที่อุดฐานจะเรียบเสมอกับฐาน และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.4-4.5 ซ.ม.
.. องค์นี้พิมพ์นิยม คอแอลL เนื้ออัลปาก้า สภาพเก็บสวยผิวหิ้งตามอายุ ไม่ผ่านการใช้ กริ่งดังสปริง มาตรฐานความดูง่ายครับ ..
877 ครั้ง
บ้านต้นไม้พระเครื่อง
081-1416959
bank-baantonmai