พิมพ์ลีลาข้างขีด หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี เนื้อดิน
รายละเอียด
ราคา (5,000 บาท)
.. พิมพ์ลีลาข้างขีด เนื้อดินเผา หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี
.. เนื้อดินเหนียวท้องนา ปั้นและกดพิมพ์แบบบ้านๆ มีสร้างหลายพิมพ์ทรงครับ ทั้งเลียนพิมพ์เก่า และ แกะพิมพ์ใหม่
.. เนื้อหามาตรฐาน มีร่องแร่หลุด มีแท่งแกลบแก้วขาว มาตรฐานความเก่าแท้ดูง่าย ธรรมชาติฟ้องครับ ไม่หักไม่ซ่อม หายาก สะสมได้สบายใจ.. กดพิมพ์ตื้นหน่อย แต่เห็นพิมพ์ชัดเจน ปาดขอบแต่งหลังดูง่ายๆครับ แห้งๆเก่าๆน่าส่อง เข้าตลับขึ้นคอได้เลยครับ .. มาตรฐานแน่นอนครับ ไม่มีหลงทาง ราคาเบากว่าพระใหม่ๆที่สร้างเยอะแยะสมัยนี้ครับ.. **ประกันความแท้และความพอใจหลังรับพระ**...bank(081)1416959 หรือ (087)0746821...Line ID.bank-baantonmai
** หลวงพ่อโหน่ง อินทสุวัณโณ เป็นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด เกิดที่บ้านสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง เมื่อปีพ.ศ.๒๔๐๘ ในสกุลโตงาม .. อายุ ๒๔ ปี ในปีพ.ศ.๒๔๓๓ เข้าพิธีอุปสมบท ณ.พัทธสีมาวัดสองพี่น้อง มีพระอธิการจันทร์ เจ้าอาวาสวัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ดิษฐ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการสุต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “อินทสุวัณโณ” ซึ่งแปลว่า ผู้มีผิวกายดุจพระอินทร์
.. เดินทางไปยังวัดทุ่งคอกเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์พระอธิการจันทร์ พระอุปัชฌาย์ ผู้มีชื่อเสียงและกิตติศัพท์ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคมแขนงต่างๆ ศึกษาอยู่ ๒ พรรษา จึงลาพระอาจารย์เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า อีก ๒ พรรษา แล้วจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดสองพี่น้องตามเดิม .. ในช่วงศึกษาที่วัดน้อยนั้นท่านได้รู้จักกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้เดินทางมาฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเนียมเช่นกัน โดยท่านนับเป็นศิษย์รุ่นพี่ หลวงพ่อเนียมยังได้เคยปรารภกับหลวงพ่อปานว่า “ถ้าข้าตายแล้วสงสัยธรรมข้อใดให้ไปถามท่านโหน่งเขานะ เขาพอแทนข้าได้”
.. หลวงพ่อโหน่งยังมีความเกี่ยวพันกับพระเกจิชั้นผู้ใหญ่ ๒ รูป ซึ่งเป็นคนบ้านสองพี่น้องเช่นเดียวกัน เมื่อครั้งอุปสมบทที่วัดสองพี่น้อง คือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของสมเด็จป๋า (ปุ่น ปุณณสิริ) วัดโพธิ์ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็น พระอนุสาวนาจารย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จันทสโร) แห่งวัดปากน้ำภาษีเจริญ
.. หลวงพ่อโหน่ง เป็นพระผู้มีปฏิปทาและจริยวัตรงดงามเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วหน้า ชื่อเสียงและเกียรติคุณของท่านเริ่มขจรขจาย ทั้งด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคมต่างๆ .. หลวงพ่อแสง เจ้าอาวาสวัดคลองมะดัน หรือ วัดอัมพวัน อ.สองพี่น้อง ผู้เก่งกล้าในวิทยาคม ทราบถึงกิตติศัพท์จึงเดินทางมาพบและสนทนาธรรมอยู่เป็นเนืองนิจจนมีความสนิทสนมกันมาก และชักชวนหลวงพ่อโหน่งให้มาอยู่ด้วยกันที่วัดคลองมะดัน ซึ่งหลวงพ่อโหน่งตอบตกลงด้วยความเต็มใจ เนื่องจากต้องการศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากหลวงพ่อแสงเช่นกัน .. หลวงพ่อแสงชราภาพลงมาก ญาติโยมจากบ้านเกิดได้พากันมากราบอาราธนานิมนต์ให้กลับไปอยู่ภูมิลำเนาเดิมที่มหาชัย จ.สมุทรสาคร ด้วยความไว้วางใจในคุณวิชาความรู้ของหลวงพ่อโหน่ง หลวงพ่อแสงจึงมอบหมายให้หลวงพ่อโหน่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคลองมะดันเป็นรูปที่ ๒ สืบแทน
.. หลวงพ่อโหน่ง อินทสุวัณโณ ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดและเสนาสนะต่างๆ สร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ พระวิหาร ฯลฯ. จนวัดคลองมะดันเจริญรุ่งเรือง หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ศิษย์รุ่นน้อง ยังเดินทางมาสนทนาธรรมและแลกเปลี่ยนความรู้กับท่าน ณ.วัดคลองมะดัน อย่างสม่ำเสมอ .. ท่านมรณภาพในปีพ.ศ.๒๔๗๗ สิริอายุ ๖๙ ปี พรรษา ๔๖ ** (ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนอันเป็นประโยชน์เพื่อเป็นวิทยาทาน จากพุทธคุณแดนสยาม)
1312 ครั้ง
บ้านต้นไม้พระเครื่อง
081-1416959
bank-baantonmai