พระผงเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย พิมพ์รูปเหมือน

รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง

รายละเอียด

พระผงเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย พิมพ์รูปเหมือน
 ขายแล้ว
..:: อธิบายเพิ่มเติม ::..

.. สุดยอดของพระเนื้อผงพุทธคุณ ที่มีเนื้อหามวลสารที่เป็นสิ่งมงคลสูง ได้แก่เส้นเกศาของครูบาเจ้าศรีวิชัย แม่ทัพแห่งกองทัพธรรมล้านนา แม้ท่านไม่ได้ปลุกเสก แต่นับได้ว่าเป็นพระเครื่องรุ่นเดียวที่สร้างทันท่าน เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นพระมากด้วยพุทธคุณทางเมตตามหานิยม เด่นทางแคล้วคลาดภยันตราย กันพิษภัยจากการเจ็บไข้ได้ป่วยระหว่างการเดินทาง รอดพ้นภัยดีนักแล
.. โดยเมื่อครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น คราใดที่พระครูบาเจ้าฯจะปลงผม (เส้นเกศา) เหล่าบรรดาพระลูกศิษย์ และชาวบ้านผู้ศรัทธาจะพากันเอาผ้าขาวมารอง พร้อมใบบัวมาคอยรับคอยห่อเอาเกศาของท่านครูบาเจ้าฯ .. เมื่อได้เส้นเกศาที่ครูบาท่านปลงแล้ว ก็จะขออนุญาตนำออกไปแจกให้ผู้ที่ศรัทธาส่วนหนึ่ง โดยอีกส่วนเก็บเอาไว้กับวัดที่ท่านพักอยู่นั้น ซึ่งต่อมาบางวัดก็ได้นำเอาไปบรรจุรวมกับอัฐิธาตุของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ดังปรากฏตามประวัติการสร้างสถูป อนุสาวรีย์ของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย สืบมาถึงปัจจุบัน
.. ลักษณะของเส้นเกศาของครูบาเจ้าศรีวิชัย ตามที่ได้พบเห็นในเนื้อพระผงเกศาของท่าน จะมีความยาวประมาณเซนติเมตรเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะเส้นผมจะเป็นสีน้ำผึ้ง ใสดุจดั่งเส้นใยแก้วก็มี
.. การสร้างพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย มวลสารที่สร้างมักจะนำเอาผงเกสรดอกไม้ต่างๆที่ชาวบ้านนำมากราบไหว้พระในโบสถ์ ในพระวิหาร รวมถึงตามพระบรมธาตุจากที่ต่างๆ มาผสมกับดอกพิกุลหรือดอกแก้วที่ตากแห้งดีแล้ว ตลอดทั้งเถ้าธูปจากกระถางบูชาพระพุทธอันหมายถึงพระประธานในพระวิหารของวัดที่เป็นผู้สร้างพระเกศานั้นๆ .. เมื่อได้มวลสารครบถ้วนตามความเชื่อแล้ว ก็จะนำมาบดให้ละเอียดแล้วนำมาคลุกเคล้ากับยางรัก และมีผงใบลานที่เป็นพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งคนล้านนาโบราณได้จารึกอักขระไว้ .. เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าปั้นเป็นก้อนเหนียวได้ตามประสงค์ จึงนำเอามากดบนแม่พิมพ์เป็นองค์พระเครื่อง โดยจะผสมเอาเส้นเกศาครูบาเจ้าฯลงไปก่อนจะกดลงพิมพ์บ้าง หรือนำเอาเส้นเกศาผสมลงในเนื้อผงเกสรเลยก็มี บางองค์ก็จะเห็นเส้นเกศาชัดเจน บางองค์ก็จะไม่พบเส้นพระเกศาข้างนอกเลย
.. สำหรับแม่พิมพ์ที่นำมาสร้างพระผงเกศาครูบาศรีวิชัยนั้นได้ยึดถือเอาแบบพุทธพิมพ์ของพระสกุลลำพูนเป็นตัวอย่างแม่พิมพ์ จึงมีหลายแบบหลายพิมพ์ทรง ส่วนมากจะเป็นพิมพ์พระสกุลลำพูน เช่นพระคง พระบาง พระรอด พระเปิม พระลือ พระเลี่ยง พระลบ พระสาม .. เนื่องด้วยพระสกุลลำพูนคงหาได้ง่ายในยุคนั้นอีกทั้งยังเป็นที่เคารพของผู้คนในพื้นถิ่น จึงนำมาเป็นต้นแบบการสร้าง
.. พิมพ์ต่อมาคือ พิมพ์รูปเหมือนครูบาเจ้าฯ ที่พบมากคือมีลักษณะคล้ายกับพระเนื้อดินรุ่นอัฐิหลังย่นคือเป็นรูปครูบาเจ้าฯนั่งเต็มองค์
.. พิมพ์ทรงกลุ่มสุดท้ายคือ พิมพ์ทรงพระพุทธ มีอยู่หลายแบบหลายปางหลายขนาด ฯลฯ. ความหลากหลายนี้คือเสน่ห์ของพระเกศาฝีมือแบบชาวบ้านที่สะท้อนความเคารพนับถือในตัวครูบาฯ ใครอยากทำแบบพิมพ์อย่างไรก็แล้วแต่ใจศรัทธา
.. การพิจารณาเนื้อพระผงเกศาฯ อาศัยความเก่าความแห้งของมวลสารและเส้นเกศาในเนื้อหาของพระเป็นหลัก ทั้งนี้พระผงเกศาของท่านนอกจากจะมีพระทำเทียมเลียนแบบแล้ว ยังมีพระผงอื่น ๆ ที่พยายามให้เป็นพระผงเกศาครูบาเจ้าฯ ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อผงของพม่า เพราะมวลสารหลักๆเหมือนกัน ยิ่งไม่พบเส้นเกศาก็ยิ่งพิจารณายากเล่นหาจบได้ยาก การเช่าหาจึงต้องพิจารณาถึงที่มาที่ไปที่ชัดเจน หรือเช่าหาจากผู้รู้จริงที่เชื่อถือได้

.. องค์นี้พิมพ์รูปเหมือนเต็มองค์ พิจารณาเนื้อหาได้ง่าย เนื้อแห้งเก่าตามสูตร มียับย่นทั่วๆ ธรรมชาติดี เส้นเกศาลอยมีหลายเส้นสั้นยาว พระขนาดเล็ก เหมาะเลี่ยมห้อยคอบูชา..

2022-01-19 08:33:15
2897 ครั้ง
บ้านต้นไม้พระเครื่อง
081-1416959
bank-baantonmai