ยอดขุนพล หลวงปู่จันทร์ วัดโฉลกหลำ สุราษฏร์ธานี เนื้อผง ปี๒๕๑๐



รายละเอียด
ขายแล้ว
.. หลวงปู่จันทร์ ขันติโก สร้างวัตถุมงคลออกมาเป็นระยะตลอดชีวิตของท่าน การจำแนกระหว่างรุ่นแรกกับรุ่นหลังๆมักดูกันที่เนื้อหามวลสาร ผงปูน .. พระรุ่นหลังๆจะแก่ปูนมากกว่ารุ่นแรกๆ วรรณะของพระยุคแรกมักมีสีน้ำตาลหรือเหลืองอ่อน หนึกนุ่มกว่า ทั้งมีร่องรอยของผงถ้วยนรสิงห์บดผสมอยู่ด้วย .. เจตนาในการสร้างของท่านมิได้ตั้งเกณฑ์กำหนดรุ่นไว้ และถือว่าพระยุคแรกหรือยุคหลังมีความแตกต่างกันนิดหน่อยของเนื้อหาเท่านั้น อิทธิคุณนั้นมิได้แตกต่างกันแต่อย่างใด
.. หลวงปู่จันทร์ท่านทำผงพระในกุฏิเวลากลางคืน ท่านขึงผ้าขาวไว้ผืนหนึ่งที่หน้าโต๊ะหมู่บูชาความสูงของผ้าอยู่ระดับศีรษะ (เวลานั่ง) แล้วท่านก็ก้มลงเขียนอักขระในกระดานชนวนที่วางอยู่ด้านล่างของผ้าขาว .. แท่งดินสอที่ใช้เขียนอักขระเป็นแท่งผงปั้นที่ท่านได้จัดทำขึ้นเอง เขียนไปบริกรรมคาถาไปจนหมดแท่งผง แล้วท่านก็ทำการกวาดผงจากข้างบนผ้าขาวที่ขึงไว้ด้านบนกระดานชนวน (โดยท่านไม่เคยกวาดผงจากกระดานชนวน เพราะผงได้ลอยขึ้นไปอยู่ด้านบนของผ้าขาวที่ขึงไว้ข้างบน) ..
นับว่าหลวงปู่จันทร์มีกรรมวิธีเขียนผงทำผงที่แปลกกว่าใคร เพราะโดยส่วนมากพระคณาจารย์ต่างๆมักใช้ผงพระจากกระดานชนวน หรือผงที่ทะลุลงใต้กระดานชนวน แต่หลวงปู่จันทร์กลับใช้ผงที่ลอยทะลุผ้าขึ้นไปอยู่บนด้านบน นับเป็นเรื่องอัศจรรย์มาก
.. เมื่อท่านเขียนผงนอโม ผงอิทธิเจ ผงปถมัง และผงวิเศษอื่นๆได้จำนวนพอสมควรแล้วก็เอามาผสมกับมวลสารอื่นๆ เช่น เกสรดอกไม้ ผงถ้วยนรสิงห์บดละเอียด แร่เหล็กไหลเกาะพะงันที่ตกทอดมา ข้าวก้นบาตร กล้วยหอม ฯลฯ. แล้วตำรวมกัน .. หลวงปู่จันทร์ท่านจะเป็นผู้ดำเนินการด้วยตัวท่านเองหมดทุกขั้นตอน ทั้งกำหนดมวลสาร ผสมมวลสาร ตำมวลสาร กดพิมพ์ และภายหลังมีพระและเณรมาช่วยตำ ช่วยกดพิมพ์บ้าง แต่ก็อยู่ภายใต้การดูแลควบคุมอย่างใกล้ชิดของท่าน
.. แม่พิมพ์ที่ใช้สร้างพระของท่านโดยส่วนมากมักแกะจากหินลับมีดโกน ซึ่งมีความเปราะ แตกหักง่าย ใช้ได้ไม่นานก็มักชำรุดต้องเปลี่ยนแม่พิมพ์ใหม่ เป็นเหตุให้พระของท่านมีรูปแบบศิลปะพิมพ์ทรงแยกย่อยได้ประมาณกว่า 30 พิมพ์ .. ท่านเลือกฤกษ์ยามตามพิธี เริ่มทำการปลุกเสกโดยลำพังติดต่อกันไปเรื่อยๆ ตามอุปเท่ห์วิชาที่เล่าเรียนมาจนกระทั่งถูกต้องครบถ้วนตามกระบวนการตำราพิธี มั่นใจในอิทธิคุณอันสัมฤทธิ์แล้วก็นำออกแจกจ่ายให้ญาติโยมที่เคารพนับถือ
.. องค์นี้พิมพ์ยอดขุนพลนั่งซุ้มเรือนแก้ว หรือ จะเป็นพิมพ์ขุนแผนขนาดใหญ่ (กว้าง 3.2 ซม. สูง 6.8 ซม. หนา 1 ซม.) มวลสารเยอะมาก สภาพสวยเดิมๆ ธรรมชาติสมอายุห้าสิบกว่าปี สมบูรณ์ไม่หักไม่ซ่อม มีบิ่นเล็กๆที่มุมบนด้านหลัง .. เทียบเนื้อหาและอายุแล้วไม่แพงครับ
1182 ครั้ง
บ้านต้นไม้พระเครื่อง

