สมเด็จฯ ๗ ชั้น หูติ่ง หลังยันต์ห้า พระครูสังฆ์ฯ วัดอินทร์ฯ กทม. ปี๒๔๘๕

รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง

รายละเอียด

สมเด็จฯ ๗ ชั้น หูติ่ง หลังยันต์ห้า พระครูสังฆ์ฯ วัดอินทร์ฯ กทม. ปี๒๔๘๕
 ขายแล้ว
..:: อธิบายเพิ่มเติม ::..

.. ประวัติ พระสังฆรักษ์ฯ (เงิน อินทสโร) วัดอินทรวิหาร (บางขุนพรหม) กทม.
.. ท่านถือกำเนิด เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ณ.บ้านหนองน้ำขาว ราชบุรี เป็นบุตรของ นายโต๊ะ และ นางแก้ว ศรีสุวรรณ .. อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดคูบัว เมืองราชบุรี เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ โดยมี พระครูอินทเขมา (ห้อง พุทธรกขิโต) วัดช่องลม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการขำ วัดเทพอาวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ฟั่น วัดเทพอาวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “อินทสโร” หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่ตำบลดอนไร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
.. ได้ศึกษาวิชาด้านวิปัสสนากรรมฐานและไสยเวทต่างๆ จากพระเกจิยุคเก่าแห่งเมืองราชบุรีหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อห้อง วัดช่องลม , หลวงพ่อจิตร วัดสัตนารถปริวัตร .. ท่านได้ปฏิบัติบำเพ็ญสมาธิมาโดยตลอดจนเชี่ยวชาญ และเวลาต่อมาท่านได้เรียนพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดปรินายก ตำบลบ้านพานถม พระนคร ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗

.. จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กทม. ท่านมาหาหลวงปู่ภู จนฺทเกสโร และบอกหลวงปู่ภูว่า “สมเด็จฯโต ให้ฉันมาสร้างพระ” ซึ่งหลวงปู่ภู ท่านก็เห็นชอบด้วย (ท่านอาจจะทราบด้วยอภิญญาว่าจะมีผู้มีบุญบารมีมาช่วยท่านสร้างพระ) และได้ลงมือก่อสร้างองค์หลวงพ่อโตที่คงค้างอยู่จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ในสมัยของท่านในปีพ.ศ.๒๔๗๐
.. พระครูสังฆ์ฯท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารจนถึงกาลมรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ (รัชการที่ ๙)

.. พระครูสังฆ์ฯท่านได้สร้างและปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆที่มีชื่อเสียงหลายๆรุ่น เช่น พระพิมพ์สมเด็จ หลังดอกจันทร์และหลังยันต์ห้า ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เรียกว่า “รุ่นอินโดจีน” มีมากมายหลายพิมพ์ เช่น
-พิมพ์แซยิด(ข้างยันต์)
-พิมพ์แขนกลม
-พิมพ์แขนหักซอก
-พิมพ์ฐานคู่
-พิมพ์สามชั้นฐานหมอน
-พิมพ์อุ้มบาตร
-พิมพ์พระประจำวัน เป็นต้น
.. นับเป็นพระรุ่นแรกที่ท่านได้สร้างขึ้นตอนที่มีสมณะศักดิ์เป็น “พระครูสังฆรักษ์” คนทั่วไปนิยมเรียกชื่อพระรุ่นนี้ว่า “พระสมเด็จฯ พระครูสังฆ์ฯ”
.. สมเด็จรุ่นนี้ ใส่ผงพุทธคุณวิเศษที่ท่านเสกและลบเอง ผงพระสมเด็จของหลวงปู่ภูอีกส่วนหนึ่ง และที่สำคัญที่สุด ตามประวัติว่าได้ผสมผงพระสมเด็จบางขุนพรหมที่หักชำรุดลงไปมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ไม่ใช่ใส่นิดหน่อยหรือเล็กน้อย ใส่กันหลายบุ้งกี๋ทีเดียว

.. พระครูสังฆ์ฯ ท่านย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร แทนหลวงปู่ภูเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ ได้เริ่มงานก่อสร้างองค์หลวงพ่อโตยืนอุ้มบาตรที่ค้างคาอยู่ และได้สำรวจพบว่ามีพระสมเด็จฯกองอยู่ข้างบนมากมายในลักษณะที่เตรียมจะบรรจุในองค์หลวงพ่อโตองค์นี้ (เข้าใจกันว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ท่านสร้างพระเหล่านี้ไว้เตรียมที่จะบรรจุเพื่อสืบทอดพุทธศาสนา แต่ท่านก็มรณภาพเสียก่อน และน่าจะเป็นไปได้ว่าตอนสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม ต้องมีพระส่วนหนึ่งชำรุดอยู่เป็นอันมากที่เหลือจากไม่ได้บรรจุเข้าเจดีย์ที่วัดใหม่อมตรส และยังสันนิษฐานว่าก่อนที่จะนำพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ปลุกเสกแล้วบรรจุเข้าเจดีย์ซึ่งเสมียนตราด้วงได้ทำการบูรณะ ได้มีการแบ่งพระสมเด็จบางขุนพรหมบางส่วนนำขึ้นไปกองบนองค์หลวงพ่อโตเพื่อเตรียมการบรรจุกรุด้วย)
.. พระครูสังฆ์ฯ ท่านได้ให้ช่างชาวจีนที่เป็นแรงงานในการก่อสร้างองค์พระขนเอาลงมา ซึ่งส่วนมากเป็นพระแตกหักชำรุด ท่านได้นำพระสมเด็จเหล่านี้ มาบดให้ละเอียด เติมปูนขาวกับดินสอพอง และน้ำมันตั๊งอิ้วลงไปผสม แล้วกดพิมพ์พระออกมาในรูปแบบของพระใหม่ โดยใช้แม่พิมพ์จากพระหลวงปู่ภูบ้าง แกะพิมพ์ขึ้นมาใหม่เองบ้าง .. เมื่อสร้างครบ ๘๔,๐๐๐ องค์แล้ว จึงได้ทำพิธีปลุกเสก โดยนิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงคุณวุฒิทางด้านวิทยาคมร่วมยุคสมัยมาร่วมปลุกเสก หลังจากเสร็จพิธีได้นำพระมาแจกสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์สมทบทุนก่อสร้างองค์หลวงพ่อโตยืนองค์ใหญ่ ในราคาองค์ละ ๑ บาท .. เนื่องจากเป็นพระที่ใส่ผงเก่ามาก เพราะใช้พระสมเด็จที่แตกหักชำรุดจำนวนมาก มาโขลก ตำป่นให้ละเอียดแล้วกดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ จำนวนพระที่สร้างไม่มาก แต่ผงเก่าจำนวนมากมาย ดังนั้นเนื้อพระรุ่นนี้จึงแก่ผงพระสมเด็จฯ หากส่องดูจะเห็นชิ้นส่วนของพระสมเด็จชิ้นเล็กชิ้นน้อยปรากฏอยู่ในเนื้อพระมากบ้างน้อยบ้าง .. ส่วนใหญ่พระจะมีสีขาวอมเหลือง ผิวเหนอะจากคราบน้ำปูนที่ลอยอยู่บนผิว มีความหนึกและนุ่มคล้ายพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า เนื้อจัดอย่างกับพระของหลวงปู่ภู (ได้มีการกล่าวไว้ว่า ถ้าไม่มีพระสมเด็จบางขุนพรหม พระสมเด็จวัดระฆังฯ หรือพระสมเด็จของหลวงปู่ภู ก็ใช้พระสมเด็จพระครูสังฆรักษ์แทน เพราะท่านก็เป็นศิษย์หลวงปู่ภูเช่นกัน พระเก่า ราคาไม่แพง นับวันจะหายาก

.. องค์นี้พิมพ์ ๗ ชั้น หูติ่ง หลังกดยันต์ห้า สภาพสวย สมบูรณ์ ผิวคราบเหนอะ มีมวลสารเม็ดกระจายตามขอบ ไม่มีตำหนิครับ เลี่ยมขึ้นคอบูชาได้สบายใจสำหรับท่านที่นิยมพระสมเด็จฯเชื้อสายบางขุนพรหม

2022-07-08 17:33:26
2176 ครั้ง
บ้านต้นไม้พระเครื่อง
081-1416959
bank-baantonmai