พระซุ้มเรือนแก้ว กรุวัดราชบูรณะ เนื้อชินเงิน จ.อยุธยา
รายละเอียด
ขายแล้ว
กรุงศรีอยุธยาจึงได้รับยกย่องว่าเป็น "เมืองพระ" ดังเช่นที่ วัดราชบูรณะ วัดเดียวก็มีพระเครื่องนับร้อยชนิด วัดมหาธาตุ ก็มีจำนวนไม่น้อย ถ้าจะมาจำแนกกันทั้งหมด คงจะเป็นรายละเอียดมากมาย
พระเครื่องของกรุงศรีอยุธยา นั้น จัดว่าเป็นพระร่วมสมัย เพราะว่าได้รับอิทธิพลของหลายยุคผสมผสานกัน แต่ก็มีศิลปะของอยุธยาแท้ๆ ไม่ใช่น้อย
เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระเครื่องอยุธยาก็คือ เป็นพระที่ทำมาจาก เนื้อชินเงิน ถึง ๘๐% นอกนั้นเป็นพระเนื้อดิน
กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นกรุมหาสมบัติอันล้ำค่าทางพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี โบราณวัตถุ มีความสำคัญยิ่งใหญ่อลังการที่สุดกรุหนึ่งของเมืองไทย เป็นกรุที่มีความชัดเจนในลำดับความเป็นมา ด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และมีการกรุอย่างเป็นทางการ
เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๐๐ มีการพบสมบัติโบราณครั้งใหญ่โดยบังเอิญ ประกอบด้วยเครื่องทองคำราชูปโภค พระพุทธรูป พระสถูปทองคำ และพระพิมพ์ ซึ่งบรรจุอยู่ในคูหา ภายในพระปรางค์องค์ใหญ่ ในบริเวณวัดราชบูรณะ
นอกจากนี้ ที่ผนังคูหาที่บรรจุเครื่องทองคำราชูปโภค ยังมี ภาพเขียนสี อย่างวิจิตรงดงามเต็มทุกด้าน นับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอันล้ำเลิศ ทางศิลปะอย่างสูง
กรมศิลปากร ได้เข้าควบคุมดูแล และเสนอของบประมาณสร้างอุโมงค์ พร้อมกับทำบันไดลงสู่ห้องภาพเขียน ต่อรัฐบาลสมัย จอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อจะได้นำสิ่งของอันล้ำค่าต่างๆ เหล่านี้ขึ้นมาเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ โดยรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้ตามที่เสนอ
ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๐๑ ขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังเจาะผนังพระปรางค์ด้านนอกของคูหา ได้ พบกรุบรรจุพระพิมพ์ต่างๆ มากมาย ภายในกรุบรรจุพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ วางทับพระเครื่องอยู่ด้านบน โดยวางซ้อนกันแน่นอย่างมีระเบียบ
ส่วนพระพิมพ์ต่างๆ มีอยู่มากมาย เต็มแน่นทั้งกรุ ภายในกรุที่ขุดพบเป็นห้องๆ รวมทั้งหมด ๕ ห้อง
ช่วงเวลาต่อมา ได้ขุดพบกรุที่พื้นชั้นบน และบริเวณรอบๆ อีกหลายกรุ รวมกรุพระที่กรมศิลปากรได้ขุดพบในครั้งนั้น มีถึง ๗ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้นำพระในกรุบางส่วน ออกมาให้ชาวบ้านเช่าบูชา ผู้คนจำนวนมากมายพากันเบียดเสียดกันเข้าบริจาคเงิน เพื่อนำเงินสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยขอรับพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ที่ขุดพบในกรุนี้ เป็นของสมนาคุณ เพื่อเก็บไว้ใช้สักการบูชาบูชา และสืบทอดพระศาสนา สู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป
ใน กรุวัดราชบูรณะ นี้ มีพระเครื่องที่แตกกรุออกมาอยู่พิมพ์หนึ่ง มีขนาดค่อนข้างใหญ่พอสมควร องค์พระบางพอประมาณ มีชื่อเรียกว่า "พระซุ้มร่มโพธิ์" สร้างด้วยเนื้อชินเงิน
องค์พระเป็นพุทธศิลป์อยุธยาแท้ ประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานบัว ๒ ชั้น ประทับในซุ้มเรือนแก้ว คล้ายใบเสมา มีเส้นลวดลายกระหนกถึง ๔ ชั้น บนเหนือซุ้มขึ้นไปยังอลังการด้วยลาย "กิ่งไม้" ที่ประดับด้วยใบโพธิ์ จำนวน ๗ กิ่ง ออกแบบอย่างลงตัวสวยงามมาก
พระเกศสวมมงกุฎแบบแนวนอน ๓ ชั้น ชั้นล่างสุดโค้งขึ้นบน สวยงามมาก โดยขนานกับไรพระศก พระพักตร์คมชัด พระขนง (คิ้ว) ทั้ง ๒ โค้งแบบปีกนก เชื่อมติดกัน ตรงกลางพระนาสิก พระโอษฐ์ด้านขวามือ องค์พระจะเฉียงสูงกว่าด้านซ้าย
พระศอสวมสังวาลที่คมชัดถึง ๓ เส้น ทรวดทรงพระสมบูรณ์แบบ ประทับตรง ปรากฏเส้นสังฆาฏิรวม ๔ เส้น เส้นคู่ขวามือองค์พระโค้งลงเป็นรอนจรดพระกรรณขวา คู่ด้านซ้ายทอดโค้งตรงลงมาเหนือพระกรรณ ที่บริเวณพระเพลา และเห็นพระนาภีเป็นหลุมเงาแบบลางๆ
พระบางองค์ไม่มีทองปิด บางองค์ปิดทองเก่าเหลืองอร่ามเดิมๆ มาจากในกรุ
653 ครั้ง
มังกรทอง
0928925397
dd9969