นางพญาทรงฉัตร หลังพระโพธิจักร เนื้อผง ปี๒๕๐๐ ท่านพ่อลี วัดอโศการาม สมุทรปราการ
รายละเอียด
ขายแล้ว
.. ในวาระฉลองกึ่งพุทธกาล ท่านได้สร้างพระเครื่องและ วัตถุมงคลขึ้นหลายรูปแบบ หลายเนื้อหา
.. ท่านพ่อลี ธมมฺธโร เป็นผู้มีบุญบารมี สร้างสมนิสัยวาสนามาจากชาติปางก่อน ท่านเป็นศิษย์สำคัญรูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จนเป็นที่รู้กันในสายพระป่ากรรมฐาน ท่านเป็นผู้มีอภิญญาและมีกำลังจิตสูงส่ง เป็นที่ยกย่อง
.. สืบเนื่องมาจากกรรมในอดีตชาติ ครั้งที่ท่านเสวยชาติภพเป็นพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงเป็นผู้ทำนุบำรุงทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนามากมาย ทรงดำริให้สังคายนาพระไตรปิฏกและส่งพระธรรมทูตมาเผยแพร่พระศาสนา ทั้งยังสร้างพระเจดีย์ ๘๔๐๐๐ องค์ เพื่อบรรจุพระบรมธาตุ
.. ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกำหนดจิตพิจารณาและตั้งจิตอธิษฐาน ท่านทราบด้วยญาณแห่งสมาธิ เหตุประกอบกรรมดีสืบเนื่องมาจากอดีตชาติ ท่านจะต้องเป็นประธานทำพิธีฉลองสมโภชน์ยี่สิบห้าศตวรรษในกาลสมัยแห่งพระพุทธศาสนา โดยมีการสร้างพระธุตังคเจดีย์ และบวชพระภิกษุและบวชชีพราหมณ์ สร้างพระตามจำนวนแห่งวันเวลาอายุพระศาสนา
.. มูลเหตุแห่งการสร้างพระของท่านพ่อลี .. ท่านได้เดินทางไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ครั้นเมื่อได้จุดธูปสักการะ ได้ปรากฏอัศจรรย์เกิดขึ้น ขี้ธูปที่ถูกจุดโดยท่านพ่อลี ได้มีรูปร่างเป็นพระโพธิจักร .. ท่านจึงกำหนดจิตอธิษฐานถึงสาเหตุที่ธูปได้มีรูปร่างเป็นองค์พระ ทำให้ทราบว่านี่คือพิมพ์พระที่ท่านจะต้องสร้างในงานพิธีฉลองสมโภชน์ยี่สิบห้าศตวรรษ
.. มวลสารการสร้างพระของท่านพ่อลี .. ท่านพ่อลีได้นำเศษธูปและดอกไม้บูชาพระ และดินศักดิ์สิทธิจากทั่วประเทศ นอกจากนี้มวลสารต่างๆ ประกอบด้วย เช่น
-คำข้าวที่อร่อย ท่านจะคายออกจากปาก
-เศษพระกรุแตกหัก
-มวลสารพระสมเด็จฯ
-น้ำผึ้งที่ท่านฉัน ฯลฯ.
.. พิธีพุทธาภิเศก .. ท่านพ่อลีได้คัดฆราวาสชายและหญิงถือศีลแปด ห้ามออกจากปะรำพิธีในขณะสร้างพระจำนวน ๑๗ วัน โดยมีหลวงปู่บุญญฤิทธิ์และหลวงปู่หลวง ผลัดกันคุมอยู่ในพิธี พระคณาจารย์สายป่ากรรมฐานหลายร้อยรูปได้ร่วมอฐิษฐานจิต โดยมีท่านพ่อลีเป็นประธานในพิธีครั้งนั้น
.. พระชุดนี้ท่านพ่อลีได้เชิญองค์พระอุปคุตมาร่วมพิธีปลุกเสกพ่นไฟเผาพระ นอกจากนี้องค์หลวงตาแอบไปปลุกเสกช่วงค่ำๆ (ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือประวัติและวัตถุมงคลท่านพ่อลี)
.. องค์นี้เป็นพิมพ์มาตรฐานแต่หาชมยาก สันนิษฐานว่าสร้างน้อยกว่าพิมพ์อื่นๆ .. พระผงนางพญาทรงฉัตร จัดสร้างในวาระวางศิลาฤกษ์พระธุตังคเจดีย์ เมื่อประมาณปี๒๕๐๐ มีสร้างสามแบบคือ
1. หลังเรียบ
2. หลังแบบทรงฉัตร(เหมือนด้านหน้า)
3. หลังแบบพิมพ์พระโพธิจักร(เหมือนที่สร้างพิมพ์พระโพธิจักรต่างๆ)
.. สภาพสวย ผิวหิ้งเดิมๆ ไม่มีหักไม่มีซ่อม สะสมได้แบบไม่หลงทางครับ..
521 ครั้ง
บ้านต้นไม้พระเครื่อง
081-1416959
bank-baantonmai