พระผงไตรภาคี รุ่น 2 พิมพ์รูปเหมือนเจ้าคุณนรฯ พิมพ์เล็ก พระครูญาณวิลาศ (แดง รัตโต) วัดเขาบันไดอิฐ ต.บ
รายละเอียด
ขายแล้ว
พระไตรภาคี เป็นพระเครื่องดียิ่งชุดหนึ่งในยุทธจักรนักนิยมพระ ถูกสถาปนาขึ้นโดยยุวพุทธิกสมาคม ชลบุรี ซึ่งมีคุณอธึก สวัสดีมงคล อดีตนายกฯเป็นแกนนำ ในวาระแรกพระไตรภาคีสร้างเพื่อถวายให้ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต หรือ ท่านธัมมวิตักโกภิกขุ แห่งวัดเทพศิรินทราวาส เป็นองค์อธิษฐานจิต
ณ ปัจจุบันพระไตรภาคีที่ยุวพุทธฯเรียกว่าเป็นรุ่นแรกนั้นแพงมาก เหตุเพราะได้รับการอธิษฐานจิตจากท่านเจ้าคุณนรฯ ไม่เป็นอื่น และมิใช่เพิ่งจะแพงหากแพงและปลอมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 โน่นแล้ว ในปีเดียวกันนั้นเอง ยุวพุทธิกสมาคม ชลบุรี จึงตัดสินใจสร้างพระไตรภาคีชุดที่ 2 ขึ้นโดยอาศัยเค้าโครงเดิม
พระชุดสองนี้นำแม่พิมพ์เดิมมาสร้างทั้งหมด นัยว่าเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่ถวิลหาพระเจ้าคุณนรฯ เป็นนักหนา โดยนำผงพุทธคุณของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเขาบางทราย ชลบุรี กับผงอธิษฐานของท่านเจ้าคุณนรฯ มาเป็นเนื้อหลัก
ในเมื่อสมัยแห่งอุโฆษของหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ กำลังระบือก้อง ยุวพุทธฯ จึงนำความขึ้นกราบเรียนขออนุญาตจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อแดง ซึ่งท่านก็เมตตาอนุญาตให้สร้างได้ กับทั้งมอบผงวิเศษให้ประสมเนื้อพระด้วย
การประกอบพิธีสร้าง ยุวพุทธฯ พยายามที่จะคงความศักดิ์สิทธิ์เหมือนเดิม ตั้งแต่การบวงสรวง การรับศีลและแต่งชุดขาวของประดาช่าง กดพิมพ์ในพระอุโบสถวัดเขาบางทราย โดยใช้ผงดังกล่าวข้างต้นผสมกับผงหลวงพ่อแดง
ทว่า การสร้างพระในครั้งก่อน ยุวพุทธฯ มิได้ปรุงแต่งสีสันอะไรลงไปในเนื้อพระเลย พระไตรภาคีครั้งแรกจึงมีเนื้อขาวอมเหลืองนวลซึ่งยิ่งเก่าก็ยิ่งสวยซึ้งตา
หากพระไตรภาคีรุ่น2 นี้ หมายใจจะให้เป็นพระของหลวงพ่อแดง และเหตุที่ใช้แม่พิมพ์เดิมมาสร้างจึงต้องผสมสีแดงลงไปในเนื้อพระเพื่อให้เกิดความแตกต่าง กับทั้งให้หมายถึง “หลวงพ่อแดง” ดังนั้น พระชุดนี้จึงมีความแตกต่างตรงสีสันวรรณะเท่านั้น
ครั้นกดพิมพ์แล้วเสร็จได้ทำการตรวจนับพระทั้ง 3 พิมพ์ ปรากฏจำนวนทั้งสิ้นพิมพ์ละ 2,514 องค์ ซึ่งไตรภาคีคราวนี้ไม่ได้ทำแบบพิเศษขึ้นดังชุดก่อน ซึ่งเป็นพระลงรักปิดทอง โรยผงตะไบทองคำและเส้นเกศาท่านธัมมวิตักโก คงมีเพียงพระเนื้อธรรมดาสีแดงอย่างสีอิฐมอญเท่านั้น
คณะกรรมการยุวพุทธฯ นำพระพิมพ์ทั้งหมดเดินทางขึ้นไปถวายหลวงพ่อแดงถึงวัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี ในวันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2514 ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อแดงมีชนมายุได้ 94 ปี และเป็นช่วงปีที่ท่านกำลังมีชื่อเสียงกึกก้องไปทั้งประเทศ คำว่า “เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแดง” ดูจะเป็นคำขลังพอที่สยบคนชอบพระกรุในยุคนั้นได้ไม่น้อย
เหตุเพราะนักนิยมพระกรุ มักไม่ค่อยนิยมพระเกจิอาจารย์รุ่นใหม่ ไม่ค่อยสนใจ ไม่ค่อยเล่นหา จึงไม่ทราบเลยว่าพระสมัยใหม่ใครบ้างเก่งไม่เก่ง ในใจมีแต่พระกรุพระเก่าจนลืมพระคนแต่เกียรติคุณขลังและประสบการณ์ที่ออกปากได้ว่าโชกโชนจากเหรียญรุ่นแรกปี พ.ศ. 2503 ของท่าน เป็นเหตุให้เซียนที่ลืมพระสงฆ์ต้องหันหลังกลับมาแลหลวงพ่อแดงและล่วงเลยไปถึงซุ่มเก็บพระเครื่องท่านอย่างกว้างขวาง
หลวงพ่อแดงเริ่มอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องทั้งหมดของยุวพุทธฯ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 24 เมษายน เรื่อยมาและประกอบพิธีเสกเป็นสำคัญอีกครั้งหนึ่งในวันวิสาขบูชาตรงกับวันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ทว่า ยุวพุทธฯ ก็ยังมิได้นำพระเครื่องกลับแต่อย่างใด หากขอเมตตาหลวงพ่ออธิษฐานพรให้อีกตลอดพรรษาปี 2514
จวบจนวันออกพรรษาแล้วอีกหลายวัน คณะกรรมการยุวพุทธฯ จึงได้ขึ้นไปกราบนมัสการขอรับพระเครื่องคืน เรียกได้ว่าเป็นการเสกอย่างยาวนานในชีวิตหลวงพ่อแดงได้ไม่เคอะเขิน ด้วยเวลาการเสกทั้งสิ้น 5 เดือนเศษ หย่อนอีกไม่กี่วันก็ครบครึ่งปี
พระสงฆ์ขนาดหลวงพ่อแดงเสกพระทุกวัน ๆ เป็นเวลา 5เดือนเศษ คิดเอาเถิดว่าน่าแขวนแค่ไหน ก็เพียงไม่มีค่านิยมที่ถูกตั้งโดยเซียนแต่พระพุทธคุณที่สถิตย์ในองค์พระ ผมเชื่อว่าไม่ด้อยไปกว่าเหรียญรุ่นแรกหรือรุ่นไหน ๆ ของท่านก็แล้วกัน
เมื่อนำพระกลับมาทำการบรรจุซองที่ยุวพุทธฯ ชลบุรี แล้ว คณะกรรมการหารือกันเห็นว่าควรตั้งราคาบูชาที่องค์ละ 10 บาท เพื่อนำปัจจัยที่ได้ไปสมทบกองทุน “สินอุปการะ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (สมเด็จเมืองชล)” ณ มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และพระชุดนี้ก็หมดพรึ่บเช่นเคย
249 ครั้ง
HMM_Amuet
0652696697
himhirose