พระปิดตาไม้โพธิ์แกะ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม สร้างขึ้นราวประมาณปี พ.ศ. 2445
รายละเอียด
ราคา (38,500 บาท)
พระปิดตาไม้โพธิ์แกะ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม สร้างขึ้นราวประมาณปี พ.ศ. 2445 สภาพสวยเดิมๆ ขนาดความสูง 4 ซม. ฐานกว้างประมาณ 2 ซม. ก้นอุดผงพุทธคุณ สร้างน้อยหายากมากๆครับ พระไม้แกะของท่านนั้นสร้างขึ้นจาก ** ไม้โพธิ ** ที่กิ่งหักทางทิศ ** ตะวันออก ** แล้วนำมาแกะ เป็นพระปิดตา และยังปรากฏในประวัติด้วยว่า นอกจากพระปิดตาแล้ว ยังสร้างไม้โพธิแกะ เป็นพระพุทธนั่งปางสมาธิ พระพุทธยืนปางห้ามสมุทร และ แม่นางกวัก และพิมพ์อื่นๆอีกหลายพิมพ์เป้นต้น แล้วนำมาลงรักจีน พระไม้โพธิแกะของท่านนั้น สร้างขึ้นตามตำราโบราณทั้งสิ้น พุทธคุณเด่นด้าน ค้ำดวง หนุนดวง มิให้ตกต่ำ กันภยันตรายต่างๆ เรื่อง โชคลาภ ค้าขาย นั้นดีเป็นเยี่ยม ลูกศิษย์สายนี้ต่างรู้ดี เพราะหลวงปู่บุญท่านเป็นพระเกจิระดับ ** ปรมจารย์ ** เมืององค์พระเจดีษ์ใหญ่แห่ง ** นครปฐม ** ครับ................ประวัติ (พระพุทธวิถีนายก) หลวงปู่บุญ ขนฺธโชติ วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม ( กาลสมภพ ) หลวงปู่บุญชาตะเมื่อวันจันทร์ขึ้น ๓ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๑๐ สัมฤทธิศกเวลาย่ำรุ่งใกล้สว่าง ตรงกับวันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๓๙๑ อันเป็นปีที่ ๒๕ แห่งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๓ ท่านชาตะ ณ. บ้านตำบลท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร (ในครั้งนั้นยังเป็นตำบลบ้านนางสาว อ.ตลาดใหม่ เมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นบ้านท่าไม้ อ.สามพราน จ.นครปฐม แต่ปัจจุบันนี้ ต.ท่าไม้ได้โอนไปขึ้นกับ อ.กระทุ่มแบน จ.สุมทรสาคร) โยมบิดาของหลวงปู่มีนามว่า \" เส็ง \" โยมมารดามีนามว่า \" ลิ้ม \" ท่านมีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ๖ คน โดยตัวท่านเป็นคนหัวปี มีน้องชายหญิง ๕ คน ลำดับดังนี้ ๑. นางเอม ๒. นางบาง ๓. นางจัน ๔. นายปาน ๕. นายคง ( การศึกษาและบรรพชา ) เมื่อครั้งที่หลวงปู่ยังอยู่ในวัยเยาว์นั้น โยมทั้งสองได้ย้ายภูมิลำเนามาทำนาที่ตำบลบางช้าง อ.สามพราน เมื่อท่านอายุได้ ๑๓ ปี โยมบิดาได้ถึงแก่กรรม โยมป้าของท่านจุงนำไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนอยู่กับพระปลัดทอง ณ วัดกลาง ซึ่งในสมัยนั้นมีชื่อว่า \" วัดคงคาราม \" ต.ปากน้ำ (ปากคลองบางแก้ว) อ.นครชัยศรี เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปีเต็มพระปลัดทองจึงทำการบรรพชาให้เป็นสามเณรและได้อบรมสั่งสอนวิชาความรู้ต่างๆให้ เมื่อครั้งนั้นท่านได้รับใช้อย่างใกล้ชิดจึงทำให้เป็นที่รักใคร่ของพระปลัดทอง แต่เมื่อมีอายุได้ใกล้อุปสมบทท่านมีความจำเป็นต้องลาสิกขาเนื่องด้วยความป่วยไข้เบียดเบียน ( อุปสมบท ) หลวงปู่อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ณ พัทธสีมา วัดกลางบางแก้ว เมื่อวันจันทร์เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๒๓๑ เอกศกเพลาบ่ายตรงกับวันที่ ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๒ ในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ ๓๐ รูป โดยมีพระปลัดปาน เจ้าอาวาสวัดพิไทยทาราม (วัดตุ๊กตา) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดทอง เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว พระอธิการทรัพย์ เจ้าอาวาสวัดงิ้วราย พระครูปริมานุรักษ์ วัดสุประดิษฐานราม และพระอธิการจับ เจ้าอาวาสวัดท่ามอญร่วมกันให้สรณาคมณ์กับศีลและสวดกรรมวาจา อนึ่งการที่มีพระอาจารย์ร่วมพิธีถึง ๔ รูปเช่นนี้ก็เพราะพระเถระเหล่านี้เป็นที่เคารพนับถือ ของผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้าภาพอุปสมบทแล้วพระอุปัชฌาย์ขนานนามฉายาให้ว่า \" ขนฺธโชติ \" แล้วให้จำพรรษาอยู่กับพระปลัดทองที่วัดกลางบางแก้ว ( การศึกษาทางปริยัติและปฏิบัติ ) หลวงปู่บุญถูกว่างพื้นฐานในทางธรรมมาอย่างดีแล้วตั้งแต่เป็นเด็กวัดและสามเณร ซึ่งช่วงระยะเวลาดังกล่าวประมาณ ๕-๖ ปี ที่ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้พระปลัดทอง จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าพื้นฐานในทางธรรมของท่านถูกถ่ายทอดมาโดยพระปลัดทองทั้งสิ้น อาจารย์อีกรูปหนึ่งของท่านก็คือพระปลัดปาน เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา ซึ่งจากปากคำของพระครูธรรมวิจารณ์ (ชุ่ม) เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว) บางกอกน้อย เคยกล่าวไว้ว่าหลวงปู่บุญได้เล่าเรียนกรรมฐานและอาคมกับท่านปลัดปาน อันที่จริงนั้นอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ทางธรรม ทั้งปริยัติและปฏิบัติตลอดจนพระเวท และพุทธาคมให้แก่ท่านยังมีอีกหลายรูป แต่จะกล่าวถึงในถัดไป ( การศึกษาพุทธาคมและการสร้างพระเครื่องและเครื่องราง ) หลวงปู่บุญถูกจัดอันดับอยู่ในยอดเกจิ ผู้เข้มขลังทางพระเวท ที่มีตบะสมาธิและวิถีแห่งญาณแก่กล้า จนเป็นที่ยอมรับยกย่องของพระคณาจารย์ร่วมยุคร่วมสมัยหลายรูป อาทิเช่น สมเด็จพระสังฆราช (แพ) แห่งวัดสุทัศน์เทพวราราม หลวงพ่อทับ วัดทอง (วัดสุวรรณาราม) คลองบางกอกน้อย หลวงปู่นาค วัดห้วยจรเข้และอีกหลายๆ รูปด้วยความเชี่ยวชาญเข้มขลังในพระเวททำให้พระเครื่องและวัตถุมงคล ที่หลวงปู่สร้างมีเกียรติคุณชื่อเสียงขจรขจาย เป็นที่เสาะแสวงหาของคนรุ่นปู่รุ่นทวดลงมาจนถึงชั้นพวกเรา ด้วยวัตถุมงคลของหลวงปู่มีมากชนิดและมากด้วยประสบการณ์ จึงทำให้พวกเราต่างอยากจะรู้ว่าครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดพระเวท และพุทธาคมให้กับหลวงปู่คือท่านใดบ้าง เรื่องนี้ได้กล่าวถึงมาบ้างแล้ว ว่าอาจารย์ของหลวงปู่ ๒ รูป คือ พระปลัดทองและพระอธิการปาน มีบทบาทและความสำคัญอย่างมากในการถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆ ให้แก่หลวงปู่ หากแต่ยังมีบางเรื่องที่ไม่กระจ่างชัดคือ หลวงปู่เรียนวิชาการส้ราง " เบี้ยแก้ " มาจากพระอาจารย์ท่านใด ที่ยกเอาเรื่องเบี้ยแก้ขึ้นมาพูดถึงก่อนเพราะเหตุว่าในกระบวนเครื่องรางของขลังที่หลวงปู่บุญสร้างไว เบี้ยแก้ของท่านจัดอยู่ในอันดับยอดเครื่องรางที่ทุกคนต่างก็ปรารถนาจะได้ไว้ในครอบครอง ( เบี้ยแก้คืออะไร ) เบี้ยแก้ คือ เครื่องรางชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอุปเท่ห์การใช้มากมายหลายอย่าง ทั้งกันและแก้สิ่งชั่วร้ายเสนียด *** คุณไสย คุณคน คุณผี บาเบื่อ ยาเมา ทั้งหลาย คณาจารย์ยุคเก่าที่สร้างเครื่องรางประเภทเบี้ยแก้เอาไว้มีด้วยกันหลายรูป แต่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เห็นจะมีอยู่เพียง ๒ รูปคือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว และหลวงปู่รอด วัดนายโรง นอกนั้นก็มีชื่อเสียงอยู่เฉพาะพื้นที่ เช่น หลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์ จ.อ่างทอง , หลวงพ่อม่วง, หลวงพ่อทัต, หลวงพ่อพลอย วัดคฤหบดี บางยี่ขัน, หลวงพ่อแขก วัดบางบำหรุ, หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ, หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน จ.อ่างทอง และมีอาจารย์อื่นอีกที่สร้างได้แต่ไม่แพร่หลายปรอทมีคุณสมบัติเป็นของเหลวลื่นไหลการจะนำปรอทมาบรรจุเบี้ยแก้ คณาจารย์ผู้สร้างจำต้องมีพระเวทเข้มขลัง เพราะต้องใช้พระเวทฆ่าปรอทหรือบังคับให้ปรอทรวมตัวกันอยู่ในเบี้ยบางราย ถึงกับบริกรรมพระเวทเรียกปรอทเข้าในตัวเบี้ยได้เอง การปิดปากเบี้ยเพื่อกันไม่ให้ปรอทไหลออกมาได้นั้นนิยมเอาชันโรงใต้ดิน ที่ปลุกเสกแล้วมาอุดใต้ท้องเบี้ยให้สนิทเรียบร้อย แล้วจึงหุ้มด้วยวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผ้าแดง แผ่นตะกั่วแผ่นทองแดง วัสดุที่ใช้หุ้มหรือปิดนี้ก็ต้องลงอักขระเลขยันต์และปลุกเสกกำกับด้วย เช่นเบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วจะมีลวดทองแดงขดเป็นห่วง ๓ ห่วง เพื่อให้ใช้เชือกคล้องคาดเอว เบี้ยแก้ที่ผ่านการบรรจุปรอทจนกระทั่งถักหุ้มเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ถือว่าเสร็จสิ้นขึ้นตอนกรรมวิธี เพราะคณาจารย์เจ้าผู้สร้างท่านต้องปลุกเสกกำกับอีกจนมั่นใจว่าใช้ได้จริงๆ แล้วเล่ากันว่า คณาจารย์บางรูปสามารถปลุกเสกเบี้ยแก้ จนกระทั่งตัวเบี้ยคลานได้ เรื่องนี้ไม่ใช่ผู้เขียนเขียนขึ้นมาเอง หากแต่ได้รับการบอกเล่าจากหลวงพ่อพระครูรัตนโสภณ เจ้าอาวาสวัดบางบำหรุ ซึ่งท่านกรุณาเล่าว่า สมภารฉายอาจารย์ของท่าน และเป็นเจ้าอาวาสวัดบางบำหรุก่อนท่านเคยสร้างเบี้ยแก้เอาไว้ และสามารถปลุกเสกเบี้ยแก้จนตัวเบี้ยคลานได้เหมือนหอย เมื่อเขียนมาถึงตรงนี้ ก็จะเข้าประเด็นที่ ขึ้นต้นเอาไว้ว่า ( อิทธิคุณและพิธีกรรมการใช้เบี้ยแก้ ) ป้องกันอัตวิบากกรรม แก้ภาพหลอน จิตรหลอน ภาพอุปทาน แก้อำนาจภูผีปีศาจ อาถรรพณ์เวททำให้มัวเมาขลาดกลัว ขนพองสยองเกล้า ลมเพลมพัด คุณไสย คุณผี คุณคนทั้งปวงอุบาทวเหตุ อุบาทวภัยทั้งปวง มัวเมายาพิษ ยาสั่งทั้งหลาย ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข่ผีป่า ผีโป่ง ผีปอบ ต้องกระทำจากภูตผี ผีพราย ผีตายโหง กองกอยวิกลจริต จิตวิกลวิกาล วิญญาณ อุปาทานวิกลเหมือนผีเข้าเจ้าสิงสู่ปราศจากสิ้นแล- ให้อธิษฐานเอาน้ำมนต์ เอาดอกพุทธรักษาดอกไม้ ดอกเข็มแดงหลากสี ตั้งขันธูปเทียน ขันห้า ข้าวตอก ดอกไม้แก้บาทวพิษ บาทยัก อัมพาต บาดแผล ฝีมะเร็ง ฝีคุณ หัวพิษ หัวกาฬ ทรางชัก รางขนพอง สันนิบาตลูกหมา ลูกนก หลังแอ่น คางแข็ง บ้าหมู ภายนอกภายใน อาบกินด้วย ตั้งจิตหน่วงลง ในคุณพระศรีรัตนตรัยใช้ได้แล - เมื่อเข้าศึกสงครามให้เอาไว้ด้านหน้าสารพัดศัตรู บีทาย่ำรุกไล่ให้เอาไว้ด้านหลัง หาเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ เจ้าขุนมูลนาย ให้เอาไว้ด้านข้างขวา เมื่อหาหญิง หานางพญาไว้ข้างซ้าย สารพัดศาสตรามิต้องข้างกายเลย ดุจฝนเสนห่า ข้าวปลาอาหารเป็นพิษ คางแข็ง เคี้ยวไม่กลืนเลยแล - ปลิงก็ดี ทากร้ายก็ดี มีในป่ามืด ในน้ำห้วยหนอง คลองบึง มันไม่เก่าะกินเลือดทั้งวัวทั้งควาย ช้างม้าก็ดีแล แก้งูพิษ เขี้ยวขนอน แมวเซา เห่าแก้วก็ดีมิต้องกายมาขบกัดเลยแล ( ประคำนเรศวรปราบหงสาวดี ) ประคำนเรศวรปราบหงสาวดีเป็นอิทธิวัตถุชั้นสูงอีกชนิดหนึ่งที่หลวงปู่บุญ ท่านได้สร้างเอาไว้แต่มีจำนวนน้อยมากท่านจะสร้างมอบให้เฉพาะเป็นรายบุคคล ซึ่งนอกจากศิษย์ใกล้ชิดที่หลวงปู่มั่นใจในความประพฤติแล้ว ท่านก็มักจะสร้างถวาย หรือแจกแก่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งให้ความอุปการะ วัดกลางบางแก้ว ประการสำคัญผู้นั้นจะต้องร้องขอต่อท่านว่า " อยากจะได้ประคำปราบหงสาวดีเอาไว้คุ้มครองป้องกันตัว " ท่านถึงจะลงมือสร้างให้ทั้งนี้เพราะวัสดุ เช่น เนื้อไม้อันเป็นมงคลตลอดจนเครื่องยาต่างๆ ล้วนแล้วแสวงหาได้ยากทั้งสิ้น อีกพิธีการสร้างก็ละเอียดปราณีต ยากลำบากพอดูทีเดียว ตำรับการสร้างประคำปราบหงสาวดีนี้ตกทอดมาจากสมเด็จพระพณรัต วัดป่าแก้ว ผู้เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมมหาราช เนื้อความตามตำราการสร้างมีดังต่อไปนี้ สิทธิการิยะ ถ้าจะทำลูกประคำ ท่านให้เอากาฝากศรีมหาโพธิ์ ๙ ลูก ชุมแสงโทน ๘ ลูก ชัยพฤกษ์ ๕ ลูก ไคลเสมา ๓๒ ลูก ไม้เท้ายายม่อม ๙ ลูก ค้นทรง ๑๐ ลูก หนาด ๒๘ ลูกและราชพฤกษ์ ๘ ลูก ผสมกันเข้าเป็น ๑๐๘ ลูก กาฝาก พระศรีมหาโพธิ์ ๙ ลูก สายประคำนั้นให้เอาไหมเบญพรรณมาทำลักษณะของประคำวิเศษนี้ มีลักษณะเป็นลูกประคำชุด ถ้านับตามลำดับจากชุดที่ทำด้วยไคล มีจำนวน ๑๒ เม็ด ลูกประคำชุดนี้จะมีสัณฐานเขื่องกว่าชุดอื่นๆ ลักษณะเป็นเนื้อผงละเอียดผสมด้วยน้ำยาชนิดหนึ่ง แล้วปั้นเป็นเม็ดกลม ข้างในมีหลอดเล็กๆ เป็นแกนทำด้วยเงิน สำหรับเป็นแกนให้พอกเนื้อยาและเป็นช่องสำหรับร้อยไหม บางท่านบอกว่าแกนหรือหลอดนี้คือ ตะกรุดขนาดเล็กที่หลวงปู่ลงอักขระเอาไว้ด้วย วรรณะเม็ดประคำชุดนี้ดำสนิทเป็นเงางาม คล้ายมีวัสดุเคลือบเอาไว้.....( คาถาบูชาพระภควัมบดีไม้โพธิ์ ) \" สิมพะลี จะมหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อหังวันทามิ สัพพะทา สิมพะลี จะมหาเถโร เทวาตานะ ระปูชิตา โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง กะโรนตุ เม ลาเภนะ อุตตโมโหติ โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง สะถาโสตถี ภวันตุ เม ราชะปุตโต สิมพะลี อิติลา เภนะ อุตตะโม ยังยัง ชะนะปะทัง ยาติคะเม รา ชะนิโย สัพพะปูชิโต โหติ เถรัสสาปา เทวันทามิ เถรัสสาอานุ ภาเวนะ สัพพะลาโภ ภวันตุเม สิมพะลี เถรัสสะ เอตะคุณนัง สัพพะธะนัง สุปัตติถินัง สาริกธาตุ พุทธรูปัง อหังวันทามิสัพพะทา \" ธัมมะจักกัง ปะทัง สุตวา อัตตัง ปะทัง สันติเกราหาโกเล โลกานังหิตาการะนา ภันเตคะวันปะติ นามะติสุโลเกสุปากะโต พรหมะปุตโต มะหาเถโร อะระโห เชฎธะโก มุนิ พัตภิสะโมคัน ทัพพา อะสุรา เทวสักโก พรหมาภิปูชิโต นะโม พุทธัสสะ คะวันปะติ นะโมธัมมัสสะ คะวัมปะติ สะ นะโมสังฆัสสะ คะวัมปะติสะ สุกขา สุกขัง วะรัง ธัมมัง ธัมมะ จังกัง ปะวะกัง วะรัง หากต้องการบูชาขอลาภเฉพาะในแต่ละวันเพื่อให้ได้ผลประสิทธิ์มากตามตำราของหลวงปู่บุญ ดังที่ว่านี้ครับ ท่านได้มรณภาพ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีชวด เวลา ๑๐.๔๕ น. โดยโรคคาพาธ ณ กุฏิของท่าน สิริรวมอายุท่านโดยปีได้ ๘๙ พรรษา ๖๗ ทั้งนี้ ก็เพราะสังขารของท่านประกอบด้วยชราภาพครับ...............
364 ครั้ง
ต่อรังสิต
097-101-4777
ddpra11