เหรียญรูปเหมือนเม็ดแตงมหาสิทธิโชค ด้านหลังยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า วัดประดู่ พระอารามหลวง ปี๒๕๕๙

รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง

รายละเอียด

เหรียญรูปเหมือนเม็ดแตงมหาสิทธิโชค ด้านหลังยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า วัดประดู่ พระอารามหลวง ปี๒๕๕๙
 ราคา (550 บาท)
..:: อธิบายเพิ่มเติม ::..

***ได้รับพระ 2 องค์

วัตถุประสงค์การจัดสร้างเพื่อนำเงินไปใช้ในการปรับปรุงบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัดประดู่ ในงานฉลองพระอารามหลวงน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ .. เป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนพระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์) ครึ่งองค์ห่มคลุม (ซึ่งท่านปั้นต้นแบบด้วยตัวท่านเอง) มีลายเซ็น “อติสกฺโข” หูเหรียญตันมีรูปพระปิดตาขนาดเล็กจิ๋วมากๆ ท่านให้ชื่ออันเป็นมงคลนามว่า “มหาสิทธิโชค” หมายถึงความสำเร็จผลอย่างเต็มที่ โดดเด่นด้านโชคลาภ เสริมวาสนา เจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองเฟื่องฟู สมดังคำอวยพรที่ท่านชอบให้พรเสมอๆ ว่า “รวย แน่นๆ” คือ มีทรัพย์สินเงินทองบริบูรณ์พรั่งพร้อมอย่างมั่นคงหนักแน่น ไม่บกไม่พร่องไม่จ่อมไม่จม .. ด้านหลังเป็นยันต์ “มงกุฎพระพุทธเจ้า” ซึ่งมีพุทธคุณครอบจักรวาล โบราณท่านว่า “ฝอยท่วมหลังช้าง” เป็นมหาวิเศษยิ่งนัก และเป็นยันต์เอกลักษณ์ประจำตัวของหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์อีกด้วย

.. พิธีมหาพุทธาภิเษกวันอาทิตย์ ที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๑๗.๕๙ น. โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัตฯ กรรมการมหาเถรสมาคม วัดบวรนิเวศวิหารฯ กทม. เป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย .. โดยมีพระคณาจารย์ที่เมตตามาเจริญจิตภาวนาดังนี้
1. พระพรหมมังคลาจารย์ (ท่านเจ้าคุณธงชัย) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
2. พระราชสารเวที (ท่านเจ้าคุณโกมินทร์) วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
3. พระนันทวิริยาภรณ์ (หลวงพ่ออ่าง) วัดใหญ่สว่างอารมณ์ จ.นนทบุรี
4. พระครูปัญญาวิภูษิต (หลวงปู่หนู) วัดไผ่สามเกาะ จ.ราชบุรี
5. พระครูพิพัฒนานุกูล (หลวงพ่อเทียม) วัดใหม่อมตรส กรุงเทพมหานคร
6. พระครูสิทธิสังวร (หลวงพ่อวีระ) วัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร
7. พระครูสมบูรณ์จริยธรรม (หลวงพ่อแม้น) วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา
8. พระครูพิศาลจริยาภิรม (หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์) วัดประดู่พระอารามหลวง จ.สมุทรสงคราม
9. พระปลัดจักรพบ กนฺตสีโล (พระอาจารย์เทพ) วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
10. พระครูสังฆรักษ์อุทัย ปภงฺกโร (หลวงพ่ออุทัย) วัดศรีมฤคทายวัน (วัดเกาะตาพุด) จ.ราชบุรี
11. พระครูปราโมทย์ปัญญาวัฒน์ (หลวงพ่อน่อย) วัดปราโมทย์ จ.สมุทรสงคราม .. ทั้งนี้พระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข ได้นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้งหลังจากเสร็จพิธีในช่วงแรก ในเวลา ๒๑.๓๐ น.

.. พิธีมหาพุทธาภิเษกวันจันทร์ ที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๑๖.๒๙ น. โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ฯ กรรมการมหาเถรสมาคม วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กทม. เป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย .. รายนามพระคณาจารย์ที่เมตตามาเจริญจิตภาวนา
1. พระมงคลสุธี (หลวงปู่แขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก
2. พระมงคลสุทธิคุณ (หลวงปู่ฟู) วัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา
3. พระครูสุวรรณศีลาธิคุณ (หลวงพ่อพูน) วัดบ้านแพน จ.พระนครศรีอยุธยา
4. พระครูนิวิฐมณีวงศ์ (หลวงพ่อสะอาด) วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์
5. พระครูมนูญสีลสังวร (หลวงพ่อแถม) วัดช้างแทงกระจาด จ.เพชรบุรี
6. พระครูปทุมวรกิจ (หลวงพ่อชำนาญ) วัดชินวรารามวรวิหาร จ.ปทุมธานี
7. พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ จ.นครปฐม
8. พระครูอุทัยบุญวัชร์ (หลวงพ่อบุญยิ่ง) วัดอุทัยโพธาราม จ.เพชรบุรี
9. พระครูวินัยธรใจ ฐิตาจาโร (หลวงพ่อใจ) วัดพระยาญาติ จ.สมุทรสงคราม
10. พระครูประโชติธรรมวิจิตร (หลวงปู่เพิ่ม) วัดป้อมแก้ว จ.พระนครศรีอยุธยา
11. พระครูปลัดสุวัฒนมงคลวรคุณ (หลวงพ่อรักษ์) วัดสุทธาวาสวิปัสสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
12. พระครูอาทรธรรมพินิจ (พ่อท่านเอื้อม) สำนักสงฆ์สวนป่าตลิ่งชัน จ.พัทลุง
13. พระครูโสตถยาธิคุณ (หลวงพ่อโปร่ง) วัดถ้ำพรุตะเคียน จ.ชุมพร
14. พระครูรัตนสิกขการ (หลวงพ่อสูตร) วัดในเตา จ.ตรัง
15. พระครูวัชรวิหารคุณ (หลวงพ่ออุทัย) วัดวิหารสูง จ.พัทลุง
16. พระครูโพธิพัชรธรรม (หลวงพ่อเด่น) วัดโพธิ์กลาง จ.เพชรบูรณ์
17. พระครูปริยัติพัชรธรรม (หลวงพ่อทอง) วัดราษฏร์ศรัทธา จ.เพชรบูรณ์
18. พระใบฎีกาอยู่ สุปญฺโญ (พระอาจารย์อยู่) วัดราษฏร์ศรัทธา จ.เพชรบูรณ์
19. พระอาจารย์สำราญ สนฺตมโน (หลวงพ่อสำราญ) วัดสง่างาม จ.พระนครศรีอยุธยา
.. พิธีมหาพุทธาภิเษกวันอังคาร ที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๑๖.๒๙ น. โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม วัดพิชัยญาติการามวรวิหารฯ กทม. เป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย .. รายนามพระคณาจารย์ที่เมตตามาเจริญจิตภาวนา
1. พระมงคลวรากร (หลวงปู่ชาญ) วัดบางบ่อ จ.สมุทรปราการ
2. พระครูถาวรวิริยคุณ (หลวงปู่คง) วัดเขากลิ้ง จ.เพชรบุรี
3 พระครูสมุห์คำนวณ ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวณ) วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
4. พระครูพิพิธธรรมาทร (หลวงพ่อหวั่น) วัดคลองคูณ จ.พิจิตร
5. พระครูปฐมวราจารย์ (หลวงพ่ออวยพร) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
6. พระครูวิมลญาณอุดม (หลวงพ่อติ๋ว) วัดมณีชลขัณธ์ จ.ลพบุรี
7. พระครูวิจิตรธรรมาภิรัต (หลวงพ่อเชย) วัดละหารไร่ จ.ระยอง
8. พระครูพิพัฒนอโนมคุณ (หลวงพ่อนัส) วัดอ่าวใหญ่ จ.ตราด
9. พระครูสิทธิพิมล (หลวงพ่อจักษ์) วัดชุ้ง จ.สระบุรี
10. พระครูสุภัทรกาญจนกิจ (หลวงพ่อสนองชาติ) วัดเย็นสนิทธรรมาราม จ.กาญจนบุรี
11. พระครูอดุลยวิริยะกิจ (หลวงพ่อเอื้อน) วัดวังแดงใต้ จ.พระนครศรีอยุธยา
12. พระครูวิบูลกิจจาทร (หลวงพ่อบุญสิน) วัดเขานกกระจิบ จ.ราชบุรี
13. พระครูสิริโพธิรักษ์ (หลวงพ่อยวง) วัดโพธิ์ศรี จ.ราชบุรี
14. พระครูศรีธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อนาถ) วัดแจ้งเจริญ จ.ราชบุรี
15. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (หลวงพ่ออิฏฐ์) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
16. พระครูวิสุทธิ์สมุทรคุณ (หลวงพ่ออนันต์) วัดบางพลีน้อย จ.สมุทรปราการ
17. พระครูพิศาลวิริยกิจ (หลวงพ่อเสงี่ยม) วัดบ้านทวน จ.กาญจนบุรี
18. พระครูสิริสาครธรรม (หลวงพ่อจำนงค์) วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
19. พระพิมุข ญาณโสภโณ (พระอาจารย์พิมุข) วัดธรรมสถิตย์วราราม จ.สมุทรสงคราม

.. ( วัดประดู่ พระอารามหลวง อ.อัมพวา เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของ จ.สมุทรสงคราม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ประมาณ พ.ศ.๒๓๒๐ จวบจนปัจจุบัน มีอายุยาวนานกว่า ๒๓๐ ปี
พระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข นอกจากท่านจะเป็นพระเถราจารย์ผู้เพียบพร้อมด้วยจริยาวัตรอันงดงาม สุภาพอ่อนโยน มีอัธยาศัยอันดีงามและมีเมตตาต่อบุคคลทุกผู้ทุกนามโดยไม่เลือกชั้นวรรณะแล้ว ท่านยังเป็นพระนักพัฒนาผู้มีความสามารถมาก มีฝีมือเชิงช่างงานศิลป์อันน่าอัศจรรย์อีกด้วย .. พระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข) ท่านเป็นชาวสมุทรสงครามโดยกำเนิด พออายุครบบวชก็อุปสมบทที่วัดปัจจันตาราม จ.สมุทรสาคร เมื่อบวชแล้วก็เข้าศึกษาพระปริยัติธรรม ที่สำนักวัดมหาธาตุฯ จ.เพชรบุรี สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค และด้วยความที่เป็นผู้ชอบศึกษาใฝ่หาความรู้ เมื่อมีโอกาสพบปะคนดีมีวิชาท่านก็ไม่รีรอที่จะขอศึกษาหาความรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือฆราวาส ทำให้ท่านมีความรู้ในศาสตร์วิชาหลายแขนง เช่น ด้านโหราศาสตร์ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ด้านวิชาอาคมต่าง ๆ .. เมื่อท่านกลับมาอยู่ที่วัดประดู่ก็ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญ มอบหมายให้ช่วยงานเป็นพระเลขาฯของหลวงปู่หยอด ทำให้ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชามาเพิ่มเติม นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาจากตำราเก่าของหลวงปู่แจ้ง อดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่ ผู้เป็นปรมาจารย์ต้นสายวิชาของอัมพวา จึงกล่าวได้ว่าพระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข) เป็นผู้สืบสานวิชาสายอัมพวาอย่างเต็มตัว )

2024-01-10 12:21:38
168 ครั้ง
HMM_Amuet
0652696697
himhirose