เหรียญรุ่นแรก พระอุปัชฌาย์รอด วัดคลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2482
รายละเอียด
ราคา (15,000 บาท)
เหรียญรุ่นแรก พระอุปัชฌาย์รอด วัดคลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2482
เหรียญปั๊มรูปเหมือนพระอุปัชฌาย์รอด วัดคลองเขื่อน อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เหรียญนี้ กล่าวได้ว่าเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญหนึ่ง เพราะจุดมุ่งหมายในการสร้างนั้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึก เป็นของสมนาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคสมทบทุนสร้างอาคารเรียนโรงเรียนประชาบาล อันเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของลูกหลานละแวกคลองเขื่อน
การดำเนินการจัดสร้างนั้น ลูกศิษย์ของท่าน คือ ครูมงคล เมฆโสภณ ครูใหญ่โรงเรียนวัดคลองเขื่อน รับเป็นผู้ดำเนินการ และได้เดินทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร เพื่อติดต่อกับพระเนกขัมมมุนี (เส็ง) วัดสัมพันธวงศ์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระอุปัชฌาย์รอด ที่รับภาระจัดสร้างขึ้น
โดยได้สร้างเป็นเหรียญปั๊มรูปอาร์มแบบมีหูในตัว มี ๒ เนื้อ คือ เนื้อเงิน สร้าง ๒๕ เหรียญ เนื้องทองแดง สร้าง ๒.๕๐๐ เหรียญ
ด้านหน้า ยกขอบเป็นเส้นนูน ๒ เส้น ขนานไปตามขอบเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนพระอุปัชฌาย์รอดครึ่งรูป การแกะแม่พิมพ์อยู่ในลักษณะนูนต่ำ ทว่ามีความงดงามมาก
ใต้รูปเหมือนเป็นอักษรไทยว่า ‘พระอุปัชฌาย์รอด’
ด้านหลัง ยกขอบเป็นเส้นนูน ๒ เส้น ขนานไปตามขอบเหรียญแบบด้านหน้า ตรงกลางเป็นยันต์ ซึ่งเป็นยันต์หัวใจอิติปิโส บทส่งเสริมพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ประกอบด้วยอักขระขอม ๓ ตัว คือ ‘อิ สวา สุ’ อันย่อมาจาก
อิ ติปิโสภควาฯ
สวา ขาโต
สุ ปฏิปันโน
ส่วนอักขระขอมอีก ๖ ตัว ประกอบด้วย ‘มะ อะ อุ’ หมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ ‘ภะ คะ วา’ หมายถึง ผู้มีพระภาคเจ้า
เหรียญปั๊มรูปเหมือนที่สร้างขึ้น พระอุปัชฌาย์รอดปลุกเสกเดี่ยว และนำออกให้บูชาเหรียญละ ๑ บาท เงินทีได้จากการให้เช่าบูชานี้ สามารถสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนประชาบาลได้ ๑ อาคาร
ทว่าน่าเสียดายอยู่บ้างที่บนเหรียญไม่ได้ให้รายละเอียดของเหรียญไว้วมามายนัก มีเพียงชื่อของพระอุปัชฌาย์รอด และอักขระยันต์เท่านั้น ไม่บ่งบอกถึงปีที่สร้างขึ้นมาด้วย
แต่เชื่อว่าน่าจะสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๒ จากประวัติของโรงเรียนวัดคลองเขื่อน (มงคลบุตรประชาสรรค์) ซึ่งเดิมเป็นโรงเรียนนอกบังคับ มีชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลนอกบังคับวัดคลองเขื่อน อาศัยศาลาการเปรียญวัดคลองเขื่อนเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน มีพระภิกษุมงคล เมฆโสภณ เป็นครูทำการสอนท่านแรก (ภายหลังลาสิกขาบทมาสอนและได้รับแต่งตั้งเป็นครูใหญ่ท่านที่ ๒) มีรายได้จากพระอุปัชฌาย์รอด เจ้าอาวาสวัดคลองเขื่อน และผู้ปกครองนักเรียนจ่ายตามรายเดือน เปิดทำการสอนมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๙ และเปิดเป็นโรงเรียนประชาบาลนอกบังคับ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา มีชื่อว่า ‘โรงเรียนประชาบาลตำบลคลองเขื่อน ๓ (วัดคลองเขื่อน)’
กล่าวสำหรับอัตโนประวัติของพระอุปัชฌาย์รอด เกิดที่บ้านคลองเขื่อน เมื่อมีอายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบท ณ วัดบ้านกล้วย อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อนไปจำพรรษายังวัดโพธิ์บางคล้า
และได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดคลองเขื่อน ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงวัดเล็กๆ วัดหนึ่ง ซึ่งพระอุปัชฌาย์รอดได้ทำนุบำรุงจนวัดมีความเจริญรุ่งเรือง
ในด้านสมณศักดิ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวน และแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเจ้าคณะตำบลคลองเขื่อนด้วย
พระอุปัชฌาย์รอดได้ชื่อในด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของชาวบ้านด้วยยาสมุนไพรและใช้เวทมนต์คาถากำกับ ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นการแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่เจริญ การรักษาพยาบาลจึงเป็นตำรายาทางแพทย์แผนโบราณเป็นหลัก มีชาวบ้านมารักษากับพระอุปัชฌาย์มากมาย แม้เมื่อท่านมรณภาพไปแล้วก็ยังคงมีลูกศิษย์ลูกหาที่พระอุปัชฌาย์รอดได้ถ่ายทอดวิชาให้
มีเรื่องเล่าถึง ‘น้ำมนต์’ ของพระอุปัชฌาย์รอดไว้อย่างน่าตื่นเต้นว่า ครั้งหนึ่งชาวไทยเชื้อสายจีนได้เดินทางไปกราบพระอุปัชฌาย์รอดเพื่อให้ท่านทำน้ำมนต์เพื่อนำไปรักษาโรค แต่วันนั้นมีคนมาหาพระอุปัชฌาย์รอดเป็นจำนวนมาก ชายคนนั้นได้นำหม้อดินใส่น้ำแล้วกราบเรียนกับท่านว่า ขอให้พระอุปัชฌาย์รอดทำน้ำมนต์ให้ด้วย พระอุปัชฌาย์รอดได้นิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วบอกกับชายคนนั้นว่า ‘เราทำน้ำมนต์ให้แล้ว เอากลับไปได้’
ทว่าชายเชื้อสายจีนคนดังกล่าวได้กล่าวขึ้นว่า ‘หลวงพ่อยังไม่ได้เสกได้เป่าแล้วน้ำจะเป็นน้ำมนต์ได้อย่างไร’
พระอุปัชฌาย์รอดได้ตอบกลับไปว่า ‘ถ้าไม่เชื่อก็อย่าเอาไปเลย’
ชายเชื้อสายจีนจึงได้เทน้ำในหม้อดินทิ้งลงพื้นเพื่อจะกลับบ้าน แต่ปรากฏว่าน้ำในหม้อดินกลับไม่ไหลออกมา ชายคนดังกล่าวจึงได้ทุ่มหม้อดินลงพื้น หม้อดินแตกกระจายแต่น้ำในหม้อดินกลับคงสภาพเดิมเช่นอยู่ในหม้อนั้น อยู่ชั่วครู่ประมาณ ๒-๓ นาที ก็ค่อยสลายซึมลงดินไปจนหมด เป็นที่ร่ำลือมาจนทุกวันนี้
กล่าวกันว่าพระอุปัชฌาย์รอด มรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๙๑
รับประกันพระแท้ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 083-2699000 ID Line : Ting_sathu Email : Ting_ptk@yahoo.com หรือ Tingsathu@gmail.com
ภาณุภัณฑ์ พระเครื่อง เชิญที่นี่ >>> https://www.siam-pra.com/shop/Ting_sathu
48 ครั้ง
ภาณุภัณฑ์ พระเครื่อง
0832699000
Ting_sathu