เหรียญพระสวรรค์วรนายกโสณะเถระ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ทำบุญอายุครบ 80 ปี พ.ศ. 2500
รายละเอียด
ราคา (1,500 บาท)
เหรียญพระสวรรค์วรนายกโสณะเถระ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ทำบุญอายุครบ 80 ปี พ.ศ. 2500
ชาติภูมิ
พระสวรรค์วรนายก นามเดิม ทองคำ จิตรธร
เป็นบุตรกำนันหนุน นางสายบัว จิตรธร
เกิดที่หลังวัดสวรรคาราม ตำบลเมืองสวรรคโลก
(เดิมเป็นตำบลพิณพาทย์ อำเภอวังไม้ขอน จังหวัดสวรรคโลก)
อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
เกิดเมื่อปีฉลู พ.ศ.2420
พระสวรรค์วรนายกมีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันเป็นชายทั้งสิ้นรวม 5 คน โดยท่านเป็นบุตรคนโต คือ
1. พระสวรรค์วรนายก
2. พระครูธรรมวโรทัย (เพชร จิตรธร)
3. หลวงพินิจสรรพากร (แจ่ม จิตรธร) รับราชการเป็นสรรพากรจังหวัดสวรรคโลก
4. นายเจิม จิตรธร เมื่อบวชมีฐานานุกรมว่า พระวินัยธร ชาวบ้านเรียกพระวินัยธรเจิม
5. นายบาง จิตรธร รับราชการเป็นเสมียนศาล จังหวัดสวรรคโลก
พี่น้องของท่านเจ้าคุณสวรรค์วรนายก ได้มรณภาพและถึงแก่กรรมไปก่อน 3 คน คือพระครูธรรมวโรทัยหลวงพินิจสรรพากร และนายเจิม จิตรธร ส่วนนายบาง จิตรธร ถึงแก่กรรมภายหลังท่านเจ้าคุณสวรรค์วรนายกมรณภาพ
การศึกษาและสมณศักดิ์
เมื่อเยาว์วัย ได้เรียนหนังสือกับพระอาจารย์แดง เจ้าอาวาสวัดกลาง (วัดสวรรคาราม) ต่อมาได้บวชเป็นเณรและได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร เมื่ออายุได้ 20 ปี คือ พ.ศ.2440 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "โสโณ" ท่านได้ขะมักเขม้นสนใจค้นคว้าศึกษาพระปริยัติธรรมมิได้ละเว้น ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นปลัด เรียกกันเป็นสามัญของผู้ที่คุ้นเคยว่า "พระปลัดคำ" เมื่ออุปสมบทได้ 10 พรรษา ตรงกับ พ.ศ. 2450 ได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูสวรรค์วรนายก
ต่อมาใน พ.ศ. 2476 พระครูสวรรค์วรนายก ได้รับสมณศักดิ์เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญดังปรากฏในสัญญาบัตรว่าให้พระ ครูสวรรค์วรนายก วัดสวรรคาราม จังหวัดสวรรคโลก เป็นพระราชาคณะมีนามว่า พระสวรรค์วรนายก ธรรมสาธกวินัยวาที สังฆปาโมกข์
ในปี พ.ศ.2491 ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชตามราชทินนามเดิมเมื่อท่านลง นามจะมี .ร ต่อท้ายทุกครั้งว่า "พระสวรรค์วรนายก .ร"
ในขณะที่ท่านจำพรรษา ณ วัดสุทัศน์ฯ พระสวรรค์วรนายก เป็นปลัดของเจ้าคณะมณฑลราชบุรี และเป็นเลขานุการเจ้าคณะมณฑล ได้เคยไปตรวจงานด้านการศึกษาในเขตจังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรีด้วย
โดยเหตุที่บ้านเกิดของท่านอยู่บริเวณหลังวัดสวรรคารามและเคยเรียนหนังสือที่ วัดนี้มาตั้งแต่วัยเยาว์ จึงปรากฏว่าแม้ท่านจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะใหญ่ ณ วัดสว่างอารมณ์ ท่านก็ไม่เคยไปอยู่วัดสว่างอารมณ์เลย ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดสวรรคารามโดยตลอด
ในขณะที่เป็นเจ้าคณะจังหวัดสวรรคโลกนั้น ท่านได้ขอเปลี่ยนนามวัดกลาง ให้มีชื่อในทางราชการว่า "วัดสวรรคาราม" ท่านสร้างศาลาการเปรียญ โรงเรียนพระปริยัติธรรม ทำรอกันตลิ่งพังหน้าวัดหลายปี ต่อมาได้ปลูกกอไผ่แทนจึงอยู่ทนมาได้ จนกระทั่งเทศบาลเมืองสวรรคโลกได้ทำเขื่อนเรียงหินกันตลิ่งพังดังที่เห็น ปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ได้เริ่มสร้างกุฏิตึกเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ.2465 โดยจ้างชาวจีนคนหนึ่ง เรียกว่า จีนแส มาดำเนินการสร้างด้วยเงินนับหมื่นบาท ถ้าคิดเป็นเงินในสมัยปัจจุบันนี้ก็เป็นเงินสองสามล้านบาท ต่อมานายฮกเลี้ยง สุนอนันต์ นายช่างแขวงการทางจังหวัดสวรรคโลก (บิดาเป็นคนจีน ท่านเป็นนักฟุตบอลฝีเท้าดีคนหนึ่งของจังหวัดสวรรคโลก สำเร็จการศึกษาจากประเทศเยอรมนี ได้มาช่วยออกแบบทำเพดานและโค้งคอนกรีตรองรับพื้นเพิ่มเติมอีก
เมื่อท่านมีชีวิตอยู่นั้นโดยเหตุที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่และมีอัธยาศัยดี จึงปรากฏว่าได้เคยมีเจ้านายและบุคคลชั้นผู้ใหญ่ไปเยี่ยมเยียนท่านมิได้ขาด เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ เคยเสด็จทางเรือและประทับพักแรมที่วัดสวรรคาราม นอกจากนี้ก็มีสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และรัฐมนตรีในรัฐบาลต่างๆ อีกหลายท่าน
ลักษณะและอุปนิสัยส่วนตัวของพระสวรรค์วรนายก คือ เสียงใหญ่และเสียงดังฟังชัด เมื่อท่านแสดงพระธรรมเทศนาบนธรรมมาสน์ในศาลาการเปรียญ พุทธศาสนิกชนจะได้ยินได้ฟังอย่างถนัดชัดเจน โดยไม่ต้องใช้เครื่องขยายเสียงแต่อย่างใด เพราะขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ตามวัดวาอารามต่างๆ ยังไม่มีเครื่องขยายเสียงแพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน ท่านเคร่งครัดในพระปาติโมกข์อย่างยิ่ง ท่องบ่นอยู่มิได้ขาดและมีความแม่นยำมาก เวลาลงปฏิบัติศาสนกิจในพระอุโบสถเมื่อท่านสวดปาติโมกข์ครั้งใด ต้องให้พระสองรูปคอยตรวจทานในหนังสือด้วยเพื่อป้องกันมิให้ผิดพลาด
ท่านเป็นพระภิกษุที่ตรงต่อเวลามาก จะปฏิบัติตามกำหนดการโดยเคร่งครัดไม่ผิดเวลาเลยจนเป็นที่เลื่องลือกันในหมู่ สงฆ์ของจังหวัดสุโขทัย ถ้ามีกิจกรรมสงฆ์ที่ใดมักจะถามกันว่างานนี้นิมนต์เจ้าคุณสวรรค์วรนายกไปหรือ ไม่ ถ้านิมนต์ท่านไปด้วยพระรูปอื่นๆ จะต้องไปก่อนเวลาเสมอบางครั้งมีพระรูปอื่นไปไม่ทัน ถ้าถึงเวลาตามกำหนดการท่านจะสั่งให้เจ้าภาพดำเนินการทันทีโดยไม่ต้องรอ พระรูปที่ไปไม่ทัน จึงทำให้พระรูปอื่นๆ ต้องรักษาเวลาตามท่านไปด้วย
นอกจากนี้ท่านยังชอบสะสมศิลปวัตถุโบราณสมัยต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากท่านเป็นอุปัชฌาย์และเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป จึงได้รับนิมนต์ให้ไปเป็นพระอุปัชฌาย์ในการอุปสมบทพระตามวัดต่างๆ ทั้งในเขตอำเภอสวรรคโลกและเขตอำเภอใกล้เคียงเป็นประจำ เจ้าอาวาสและประชาชนต่างก็ทราบดีว่าท่านชอบสะสมโบราณวัตถุ จึงถวายศิลปวัตถุโบราณที่มีอยู่ให้ท่านเสมอ ซึ่งท่านก็ชอบใจและอนุโมทนาทุกครั้ง ศิลปวัตถุโบราณเหล่านั้นท่านจะบรรทุกล้อหรือเกวียนที่เทียมด้วยวัว หรือควายที่เจ้าภาพนำล้อ หรือเกวียนมารับท่าน เพราะสมัยนั้นรถยนต์หายาก รถยนต์ส่วนตัวก็ไม่มี รถประจำทางซึ่งมีใช้ก็มีอยู่น้อยคัน เมื่อท่านได้พระพุทธรูป หรือศิลปวัตถุโบราณมาแล้วจะนำมาเรียงไว้ในตึกกุฏิของท่าน ศิลปวัตถุบางอย่างเช่น เศียรพญานาค จะนำมาเรียงไว้รอบระเบียงตึกอย่างสวยงาม สำหรับพระเครื่องนั้นท่านมีมากมาย อาทิ พระร่วงรุ่นต่างๆ พระเครื่องโป่งมะขาม ฯลฯ
นอกจากนี้ท่านยังมีความชำนาญในการแกะสลักไม้เป็นอย่างมาก มีเครื่องมือสำหรับการแกะสลักครบชุด ไม้ที่ท่านชอบแกะสลักได้แก่ปุ่มไม้มะค่า วัตถุที่แกะสลักนั้นมีตั้งแต่กล่องสำหรับใส่บุหรี่และกรอบรูป โดยเฉพาะกล่องบุหรี่มีหลายขนาดทั้งขนาดใหญ่และเล็กมากมายหลายร้อยกล่อง ท่านทำได้อย่างงดงาม และได้เคยนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อ ครั้งเสด็จประพาสเมืองสวรรคโลก เมื่อวันที่ 1 มีนาคม
พ.ศ.2501
สำหรับเมืองสวรรคโลกนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยุบจังหวัดสวรรคโลกให้ไปขึ้นกับจังหวัดสุโขทัย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2482 ดังนั้นฐานะของเจ้าคุณสวรรค์วรนายก ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสวรรคโลก จึงเปลี่ยนเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยไปด้วย
เมื่อท่านอายุได้ 80 ปีเศษ ท่านได้ปรารภกับไวยาวัจกรและกรรมการวัดหลายท่านว่า หากท่านมรณภาพไปแล้วให้นำศิลปวัตถุโบราณที่ท่านสะสมไว้นี้มอบให้กับทาง ราชการ โดยให้สร้างพิพิธภัณฑ์ไว้ในวัดสวรรคาราม ห้ามมิให้นำสิ่งของออกไปไว้นอกวัดไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
ท่านเจ้าคุณสวรรค์วรนายก ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสวรรคโลกมาตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2450 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2482 จึงเปลี่ยนเป็นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีตลอดมาโดยไม่บกพร่องแต่อย่างใด ต่อมาในปี พ.ศ.2508 เมื่อท่านมีอายุได้ 88 ปี พรรษาที่ 68 เป็นปีที่ท่านประสบมรสุมร้ายแรงที่สุดในชีวิต ทุกคนต่างตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับท่านอย่างไม่คาดฝัน กล่าวคือ ในราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2508 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยกิตติมศักดิ์ โดยให้พ้นจากตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยที่มีอำนาจบังคับบัญชาพระภิกษุ สามเณรทั่วไป ในคำสั่งอ้างว่าท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเพราะสุขภาพไม่ดี ท่านเจ้าคุณสวรรค์วรนายกตกใจและเสียใจมากท่านได้บอกให้ทุกคนที่ไปเยี่ยมท่าน ว่า ท่านไม่เคยลงนามในหนังสือลาออกเลย ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้ จึงให้คนที่เคารพนับถือท่านไปติดตามเรื่องนี้ที่กรมการศาสนา ปรากฏว่าท่านได้ลงนามในหนังสือลาออกไปจริงๆ เรื่องนี้คงจะมีบุคคลหนึ่งที่ไม่หวังดีต่อท่าน ทำหนังสือลาออกสอดไส้ไปในแฟ้มหนังสือราชการไปให้ท่านลงนามในวันใดวันหนึ่ง ที่ท่านรีบร้อนจะไปในงานกิจนิมนต์ โดยไม่ได้อ่านหนังสือให้รอบคอบจึงลงนามไป แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า พระภิกษุรูปหนึ่งที่ท่านไว้ใจมากเป็นคนทำหนังสือฉบับนี้
ประชาชนชาวสวรรคโลกต่างเศร้าสลดและเสียใจในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง เหตุการณ์อันสะเทือนใจนี้ทำให้ท่านเจ้าคุณสวรรค์วรนายกเริ่มป่วยมาแต่บัด นั้น คณะศิษยานุศิษย์ได้นำแพทย์มารักษาเป็นอย่างดี อาการมีแต่ทรงกับทรุด มาจนถึงวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2508 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเส็ง เวลาบ่าย ท่านยังมีสติสัมปชัญญะดี ได้เรียกผ้าไตรใหม่มาครองซึ่งตามปกติท่านจะไม่ครองผ้าไตรใหม่เลย ในระหว่างที่กำลังผลัดเปลี่ยนผ้าสบงท่านก็มรณภาพเมื่อ เวลา 13.45 น. ด้วยอาการสงบ แพทย์ลงความเห็นว่ามรณภาพเพราะหัวใจล้มเหลว แต่ชาวบ้านว่ามรณภาพเพราะโรคชรา รวมอายุได้ 88 ปี พรรษาที่ 68
คณะศิษยานุศิษย์ทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาสได้ประกอบพิธีงานศพให้ท่านอย่างสม เกียรติ ฝ่ายสงฆ์มีพระครูอุดมปฏิภาณ เจ้าคณะอำเภอสวรรคโลก เป็นหัวหน้า ฝ่ายฆราวาสมีนายเพ่ง ลิมปะพันธ์ ประธานสภาจังหวัดสุโขทัย เป็นหัวหน้า เมื่อทำบุญ 100 วัน เสร็จแล้วได้ให้ทำพิธีเก็บศพไว้ที่กุฏิตึกเพื่อขอพระราชทานเพลิงศพต่อไป
ต่อมาในราวเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2508 ฯพณฯ จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้ไปตรวจราชการที่จังหวัดสุโขทัย เพื่อบูรณะเมืองเก่าสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้ทราบเรื่องศิลปวัตถุโบราณที่เจ้าคุณสวรรค์วรนายกจะมอบให้กับทางราชการ จึงได้นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบูรณะเมืองเก่า เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2508 ได้ปรารภกับที่ประชุมว่า ท่านเจ้าคุณสวรรค์วรนายกที่มรณะภาพไปแล้ว ท่านมีเจตน์จำนงจะมอบศิลปวัตถุโบราณที่ท่านสะสมไว้ให้เป็นสมบัติของทาง ราชการ เพื่อจัดตั้งแสดงในพิพิธภัณฑสถานที่จะสร้างในวัดต่อไป นับว่าท่านเป็นพระเถระที่มีใจกว้างขวาง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ เพื่อสนองตอบเจตนารมณ์ที่ดีของท่านจึงสั่งให้สำนักงบประมาณ จัดสรรงบประมาณเป็นสองส่วน ส่วนแรกให้จัดงานพระราชทานเพลิงศพ โดยให้กรมศิลปากรร่วมกับบรรดาศิษยานุศิษย์จัดสร้างเมรุ จัดซื้อเครื่องปัจจัยไทยทาน ตลอดจนจัดโขนและละครของกรมศิลปากรไปแสดง กับงบประมาณอีกส่วนหนึ่งให้เป็นค่าก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานสวรรควรนายก
คณะศิษยานุศิษย์ทั้งฝ่ายสงฆ์ ฆราวาส และกรมศิลปากรได้ร่วมกันจัดงานพระราชทานเพลิงศพท่านเจ้าคุณสวรรค์วรนายก เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2510 โดยจัดให้มีโขนและละครจากกรมศิลปากร มาแสดง เมื่อคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการวัดและบรรดาศิษยานุศิษย์จึงได้ประชุมปรึกษาเกี่ยวกับการมอบศิลป วัตถุโบราณของเจ้าคุณสวรรค์วรนายก ให้กรมศิลปากร โดยขอให้กรมศิลปากรส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจพื้นที่ ที่จะทำการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เจ้าหน้าที่ได้ไปตรวจแล้วเห็นว่าวัดมีพื้นที่ ที่จะก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เพียง 7 ไร่ 1 งาน 11 ตารางวา ไม่เพียงพอที่จะก่อสร้างให้สวยงามได้ ขอให้กรรมการวัดจัดหาที่ดินเพิ่มเติมให้ด้วย คณะกรรมการวัด และกรมศิลปากรจึงได้บอกบุญรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป ปรากฏว่าประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จึงมีเงินซื้อที่ดินเพิ่มเติมได้อีก 14 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 21 ไร่ 1 งาน 11 ตารางวา กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบพิพิธภัณฑ์โดยตั้งงบประมาณหนึ่งล้านสองแสนบาท และเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2511
รับประกันพระแท้ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 083-2699000 ID Line : Ting_sathu Email : Ting_ptk@yahoo.com หรือ Tingsathu@gmail.com
ภาณุภัณฑ์ พระเครื่อง เชิญที่นี่ >>> https://www.siam-pra.com/shop/Ting_sathu
49 ครั้ง
ภาณุภัณฑ์ พระเครื่อง
0832699000
Ting_sathu