พระพุทธชินราช อินโดจีน วัดสุทัศน์ มีโค๊ตชัดๆ ปี ๒๔๘๕ พิมพ์แต่ง พร้อมใบประกาศโดยช่างโอเล็ก สภาพสวย หู
รายละเอียด
โทรถาม : 0847461623
พระพุทธชินราช อินโดจีน วัดสุทัศน์ มีโค๊ตชัดๆ ปี ๒๔๘๕ พิมพ์แต่ง พร้อมใบประกาศโดยช่างโอเล็ก สภาพสวย หูตากะพริบ จมูกโด่งเฟี้ยว พุทธศิลป์งดงามวิจิตร แต่งโดยสุดยอดช่างแต่งพระชินราชอินโดจีน ช่างโอเล็ก
รายละเอียด....
พระพุทธชินราชอินโดจีน สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ประธาน พระคณาจารย์ ๑๐๘ รูป ร่วมปลุกเสก....
คำขวัญที่ว่า สงครามมักก่อเกิดวีรบุรุษ แต่คงใช้กับเมืองไทยไม่ได้ คำขวัญของคนไทย คงต้องว่า สงครามมักก่อเกิดพระดัง ไม่มีสมัยไหน ที่คนไทยจะตื่นตัวและเกิดเลือดรักชาติมาก เท่าสมัยสงครามอินโดจีน อาจจะเป็นว่าคนไทย คงเก็บกดที่ถูก พวกฝรั่ง มากดขี่ยึดผืนแผ่นดินบางส่วนของเราไป เมื่อจอมพลป. ประกาศสงครามกับฝรั่งเศส เพื่อเรียกร้องดินแดนคืน ทำให้กระแสรักชาติช่วงนั้นรุนแรงมาก แม้แต่พระเกจิอาจารย์ ก็ตื่นตัว อยากจะช่วยบ้านเมือง จึงมีการสร้างพระเครื่องขึ้นมากมาย เฉพาะที่กรุงเทพฯวัดใหญ่ๆ เช่น วัดสุทัศน์ วัดชนะสงคราม วัดราชบพิตฯ แม้แต่ที่วัดดอนศาลา พระอาจารย์เอียดก็สร้างพระขึ้นมาแจกในยุคนั้นเช่นกัน พระพุทธชินราชอินโดจีน เมื่อปี ๒๔๘๓ กลิ่นอายสงครามได้กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคอินโดจีน หลายประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม ประเทศไทยก็คือหนึ่งในนั้น ทั้งๆ ที่พยายามหลีกเลี่ยงทุกวิถีทาง เพราะรัฐบาลและคนไทยต่างก็รู้ดีว่า ผลพวงจากสงครามท้ายที่สุดแล้วก็จะเหลือแค่เพียง “ความสูญเสีย” ในภาวะสงครามสิ่งที่เป็นเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยก็คือ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์ - พระคู่บ้านคู่เมือง” แต่สำหรับทหารที่ต้องอยู่แนวหน้า “พระเครื่อง” ถือเป็นมงคลวัตถุคู่กายที่หลายคนต้องพกพาหาติดตัวไป ด้วยเหตุนี้เอง ชาวไทยในแนวหลัง นำโดย “พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย” จึงตัดสินใจดำเนินงานสร้าง “พระพุทธชินราช” จำลองขนาดบูชาขึ้นมา พร้อมทั้ง พระพุทธชินราชขนาดเล็กแบบหล่อที่สามารถคล้องคอได้ ซึ่งแต่เดิมเป็นความตั้งใจของ ๒ สมาคมพุทธฯ คือ “พุทธธรรมสมาคม” และ “ยุวพุทธศาสนิกธรรม” แต่ต้องระงับเรื่องค้างไว้ตั้งแต่ปี ๒๔๘๓ เพราะเกิดสงครามอย่างหนัก และเมื่อสงครามอินโดจีนสงบลง ในปี ๒๔๘๕ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย จึงเดินหน้าสานงานสร้าง “พระพุทธชินราช” อย่างจริงจัง
พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ ได้ประกอบพิธี เททองหล่อ ที่วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ ก่อนที่คณะกรรมการ พุทธสมาคมจะมากราบทูล ขอพระเมตตา ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) วัดสุทัศน์เทพวราราม ในเรื่องการประกอบพิธีพุทธาภิเษก ทั้งนี้พระองค์ทรงพระเมตตาให้คณะกรรมการพุทธสมาคมนำพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศน์เทพวราราม ในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งานผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งได้ ทำพิธี เททองหล่อพระตามตำรับตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ของวัดสุทัศน์อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ พิธีพุทธาภิเษกที่จัดขึ้นในเวลานั้นถือว่ายิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ จนเป็นที่กล่าวขวัญมาถึงทุกวันนี้ เพราะพระคณาจารย์ ทั่วประเทศและพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นได้มอบแผ่นพระยันต์ พร้อมทั้งเดินทางมาร่วม เมตตาอธิษฐานจิต กันอย่างมากมาย การสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ พล.ร.ต.หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์นายกพุทธสมาคมและคณะกรรมการ กำหนดไว้ให้สร้างเพียงแค่ ๒ แบบ คือ พระบูชา และ พระเครื่อง โดยได้กรมศิลปากรเข้ามาช่วยดูแลการหล่อและออกแบบพิมพ์พระ พระบูชา ที่จัดสร้างในคราวนี้ได้จำลองแบบจากองค์พระพุทธชินราช วัดใหญ่ เมืองพิษณุโลก โดยใช้กรรมวิธีการหล่อเป็นพระขัดเงา จากหลักฐานบันทึก การสร้าง ได้ระบุไว้ว่า “พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในครั้งนี้มีขนาดหน้าตักค่อนข้างใหญ่ ก่อนจะส่งไป ให้ทุกจังหวัด ทั่วเมืองไทยไว้สักการบูชา และถ้าประชาชนคนไหน ปรารถนา อยากได้ พระบูชาไว้เป็น ส่วนตัว ต้องแจ้งความจำนงเป็น ลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้ง ส่งเงินค่าจัดสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท ไปให้คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้ช่างจัดสร้าง ตามจำนวนที่แจ้งความจำนงไว้เท่านั้น” ในส่วนของ พระเครื่อง คณะผู้ดำเนินงานได้ใช้กรรมวิธี ๒ แบบ คือ “หล่อ” และ “ปั๊ม” พระหล่อ จัดสร้างประมาณ ๙๐,๐๐๐ องค์ เป็นพระเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลือง เป็นหลัก แต่สุดท้าย คัดเหลือ สภาพสมบูรณ์ ๘๔,๐๐๐ องค์ ซึ่งให้ความหมายเท่ากับพระธรรมขันธ์
เสน่ห์ของพระเครื่องพระพุทธชินราชแบบหล่อจะอยู่ที่ผิวพระและโค้ดใต้ ฐาน จะตอกเป็นรูปตรา “ธรรมจักร” และ “อกเลา” ซึ่งอกเลานี้ได้คัดลอกแบบ มาจากรูปอกเลาที่ติดอยู่หน้าบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) จ. พิษณุโลก พระพุทธชินราชแบบหล่อนี้ในตอนแรกได้หล่อ “อกเลานูน” ติดไว้บริเวณใต้ฐานพระ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นก้นเรียบ แล้วใช้วิธีตอกโค้ดแทนจนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ดังนั้นพระในส่วนที่เหลือจึงไม่ได้ตอกโค้ด ในส่วนของราคาทางพุทธสมาคม นำออกให้เช่า บูชาองค์ละ ๑ บาท ถ้าองค์ไหนที่สภาพ สวยสมบูรณ์ราคาจะอยู่ที่ ๑.๕๐ บาท สำหรับพระพุทธชินราชแบบปั๊มได้ทำเป็นเหรียญลักษณะคล้ายใบเสมา ด้านหน้าเป็น รูปพระพุทธชินราชมีซุ้มเรือนแก้ว ส่วนด้านหลัง เป็นรูปอกเลา สร้างเป็น เนื้อทองแดงรมดำ จำนวน ๓,๐๐๐ เหรียญ ราคาค่าบูชาเหรียญละ ๕๐ สตางค์
...นอกจากสมเด็จพระสังฆราช (แพ ) เป็นองค์ประธานการประกอบพิธีพุทธาภิเษก และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งานแล้ว รายนามพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกเศก พระพุทธชินราชในปี พ.ศ. 2485 เช่นหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา,หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก,หลวงปู่นาค วัดระฆัง,หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู,หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว,หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง,หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง,หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว,หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด,หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ,หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง,หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ,หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา,หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก,พระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ) วัดเทพศิรินทร์,หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่,หลวงพ่อติสโส(อ้วน) วัดบรมนิวาส,พระพุฒาจารย์(นวม) วัดอนงค์,หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ,หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง,หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา,หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก,หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน,หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง,หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก,หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง,หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า,หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก,หลวงปู่ใจ วัดเสด็จและหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เมตตาจารแผ่นทองเหลือง และแผ่นทองแดงส่งร่วมพิธีหล่อ กล่าวได้ว่าพิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช พ.ศ.2485 เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยทีเดียว
ที่มา: https://konkao.net/
เขียน : นายกองตรีอ้วน
75 ครั้ง
ทองบ้านในพระเครื่อง
0847461623
mong1623