พระร่วงนั่งข้างรัศมี กรุวัดกลาง นครปฐม
รายละเอียด
โชว์พระ
พระร่วงนั่งข้างรัศมี กรุวัดกลาง นครปฐม
เมืองนครปฐมเป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยทวารวดีวัดกลาง ตำบลบ่อพลับ เป็นโบราณสถานเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดนี้ และได้มีการพบพระเครื่องเนื้อชิน เมื่อประมาณปี พ.ศ.2495 มีผู้ขุดพบพระพุทธรูปพระแผง และพระเครื่อง
ที่เนินดินที่วัดกลาง พระเครื่องที่เป็นที่นิยมนั้นก็คือพระร่วงยืน และพระร่วงนั่งข้างรัศมี เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระร่วงนั่งข้างรัศมี ซึ่งเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย อยู่บนฐานบัวสองชั้น มีปีกด้านข้างและมีรัศมีอยู่ทั้งสองข้าง สำหรับพระร่วงยืนเป็นพระร่วงพิมพ์ประทานพร ยกพระหัตถ์ขาวประทับที่ทรวงอก พระหัตถ์ซ้ายทอดขนานกับลำพระองค์ ทั้งหมดที่พบเป็นพระแบบไม่มีปีกข้าง มีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พระพิมพ์ใหญ่ และพระพิมพ์เล็กพระทั้งสองอย่างนี้เป็นพระเนื้อชิน มีคราบกรุไขขาวหนามาก
พระร่วงของกรุวัดกลางนี้ เท่าที่พิจารณาจากศิลปะ จะเป็นศิลปะแบบอู่ทองสุวรรณภูมิ หรือบางท่านว่าเป็นอู่ทอง 1 คือเป็นศิลปะแบบทวารวดียุคปลายที่เริ่มมีศิลปะแบบขอมเข้ามาปะปนแล้วนั่นเองครับ พระศกจะเห็นได้ว่าเป็นแบบผมหวี และเริ่มมีไรพระศกให้เห็นได้ครับ สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุการสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งนับว่าเป็นพระเครื่องที่มีอายุการสร้างยาวนานมากครับ พระร่วงยืนที่มีพุทธลักษณะคล้ายกันนี้ก็มีพบที่ชลบุรี คือที่กรุวัดหน้าพระธาตุ พนัสนิคม แต่เป็นคนละพิมพ์กันนะครับพระร่วงกรุวัดกลาง นครปฐมนี้ ในด้านพุทธคุณนั้นก็เด่นไม่แพ้พระร่วงกรุอื่นๆ คือเด่นทางด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเจริญก้าวหน้า
1730 ครั้ง
ศุกาณ
0899559513
garn0899559513