พระกริ่งไพรีพินาศ พิมพ์บัวเหลี่ยม วัดบวรฯ พ.ศ. 2495
รายละเอียด
โทรถาม : 0899559513
พระกริ่งไพรีพินาศ พิมพ์บัวเหลี่ยม วัดบวรฯ พ.ศ. 2495
พระกริ่งไพรีพินาศ
ผู้สร้าง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์)
ปีที่สร้าง วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2496 ตรงกับวันแรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง เวลา 13.52 น.
ณ.บริเวณอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
รายละเอียด-วรรณะ พระกริ่งไพรีพินาศ จำแนกพิมพ์ได้เป็น 2 พิมพ์ คือ
- พระกริ่งไพรีพินาศ พิมพ์บัวเหลี่ยม
- พระกริ่งไพรีพินาศ พิมพ์บัวแหลม
พระกริ่งทั้งสองพิมพ์ ทรงค่านิยมพระกริ่งพิมพ์บัวเหลี่ยมจะมีค่านิยมสูงกว่าพระกริ่งพิมพ์บัวแหลม การบรรจุเม็ดกริ่ง เป็นพระกริ่งที่เทตันแล้วจึงนำมาเจาะอุดเม็ดกริ่งที่ใต้ฐานขนาดของรูบรรจุกริ่งเทียบเท่ากับขนาดแท่งดินสอหรือเล็กกว่าเล็กน้อย วรรณะเหลืองปนขาวเล็กน้อย ไม่กลับดำ จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุเป็นที่แน่นอน (ตามคาดการณ์ของผู้เขียนทั้งสองพิมพ์จำนวนรวมกันน่าจะหลายพันองค์)
พระกริ่งไพรีพินาศ นี้ถือเป็นพระกริ่งรุ่นแรกที่จำลองแบบพิมพ์มาจากพระบูชาไพรีพินาศองค์ต้นแบบที่มีผู้นำมาถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ (ราว พ.ศ.2391)
หมายเหตุ ที่ระบุว่าพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ไพรีพินาศสร้างเมื่อปี พ.ศ.2496 มิใช่ พ.ศ.2495 ตามที่บางท่านเข้าใจนั้น เพราะว่าเจตนาของผู้จัดสร้างต้องการฉลองชนมายุครบ 80 พรรษาบริบูรณ์ (ในปี พ.ศ.2495) แต่พิธีการสร้างได้ดำเนินการมาถึง พ.ศ.2496 ดังจะขอคัดลอกข้อความในหนังสือ “ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร”
“อนึ่ง เมื่องานฉลองพระชนมายุครบ 80 พรรษาบริบูรณ์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2495 ผ่านไปแล้ว ได้มีการประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธปฏิมาเพื่อเป็นฑีฆายุมหามงคล แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเป็นพระพุทธปฏิมา หน้าพระเพลา 3 คืบ หรือ 100 ซ.ม.สูงตั้งแต่พระที่นั่งถึงพระจุฬา 177 ซ.ม. พระรัศมี 22 ซ.ม.ประกอบพิธีเททองหล่อเมื่อวันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2496 และในพิธีเดียวกันได้จัดสร้างวัตถุมงคลพระไพรีพินาศ”
พระกริ่งไพรีพินาศ วัดบวรฯ พ.ศ. 2495 เป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญมากที่สุดองค์หนึ่ง ในประวัติศาสตร์ชาติไทยด้วยเหตุที่มีความเกี่ยวพันกับองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเหตุการณ์สำคัญในขณะทรงผนวช เมื่อต้องทรงเผชิญกับผู้แสดงตนเป็นอริไพรีกับพระองค์
พระไพรีพินาศเป็นพระพุทธรูปหินศิลาขนาดหน้าตัก 1 คืบ 4 นิ้วความสูงตลอดพระรัศมี 1 ศอกประทับนั่งปางประธานพรพุทธลักษณะคล้ายกับปางมารวิชัยแต่หงายพระหัตถ์ขวาขึ้นประทับเหนือฐานบัวบัลลังก์สองชั้นแบบบัวคว่ำบัวหงายครับ
ศิลปกรรมคล้ายกับพระพุทธรูปแบบชวาซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบปาละ พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระนลาฏใหญ่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์อมยิ้มน้อยๆ พระกรรณยาวจรดพระอังสา พระเศียรมีขนวดพระเกศาเป็นก้นหอย มีเปลวรัศมีอยู่ด้านบนและมีประภามณฑลอยู่ด้านหลัง พระวรกายอวบล้ำสัน เส้นพระสังฆาฏิมีขนาดสั้นพาดอยู่บนพระอังสาซ้ายครับ โดยรูปลักษณ์ประติมากรรมทำให้แปลความหมายได้ว่า"พระไพรีพินาศเป็นองค์จำลองของพระธยานิพุทธเจ้า"ซึ่งประจำอยู่ทิศใต้ตามความเชื่อในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ประวัติของพระพุทธรูปองค์นี้ มีผู้นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะทรงผนวชที่วัดบวรฯ
เมื่อปี พ.ศ. 2391 ซึ่งประจวบกับระหว่างนั้น"หม่อมไกรสร"ได้แสดงเจตนาเป็นอริกับพระองค์ทั้งทั้งที่ทรงอยู่ในสมณะเพศ แต่แล้วหม่อมไกรสรก็มีอันเป็นไปแพ้ภัยตนเองเหมือนสิ้นเสี้ยนหนามศัตรู จึงโปรดให้ตั้งพระนามพระพุทธรูปองนี้ว่าพระไพรีพินาศครับ
และต่อมาในปีฉลู พ.ศ. 2396 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศล "ผ่องพ้นไพรี" ดังความในประกาศพระราชพิธิจร จะเป็นด้วยอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปองค์นั้นหรือเป็นนิมิตรหมายอันดีก็ตาม หลังจากนั้นไม่นานพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯให้เอาผิดหม่อมไกรสรในข้อหาพยายามซ่องสุมพรรคพวกเพื่อก่อกบฏและให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ตามราชประเพณีประหารชีวิตเจ้านายเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2491 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเสมือนหนึ่ง พระพุทธรูปองค์นั้นแสดงอิทธิปฏิหารช่วยให้พระองค์รอดพ้นไผ่จะไพรีที่มุ่งร้ายพระองค์จึงทรงสถาปนาพระนามพระพุทธรูปว่า"พระไพรีพินาศ"และได้ส่งจารึกพระราชหัตถ์ไว้ใต้ฐานพระ ปัจจุบันพระไพรีพินาศประดิษฐ์ฐานอยู่ภายในวัดบวรนิเวศวิหารหรือในซุ้มปรางค์บนทักษิณชั้นสองของพระเจดีย์ใหญ่ ในปี พ.ศ. 2507 ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ซุ้มปรางค์โดยใส่เหล็กที่ช่องหน้าต่างปิดโมเสคที่ฝาผนัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จปิดทองพระไพรีพินาศเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2508
พ.ศ. 2488 สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าสกลมหาสังฆปริณายกครั้นถึงปีพ.ศ. 2495 สมเด็จพระสังฆราชมีพระชนม์มายุครบ 80 พรรษาบริบูรณ์ในเดือนพฤศจิกายนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย และเมื่อฉลองพระชนมายุผ่านไปแล้วได้มีการประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปปฏิมาเพื่อเป็นฑีฆายุมหามงคลแต่สมเด็จพระสังฆราชเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2496 มีขนาดหน้าตักประมาณ 3 คืบนำขึ้นประดิษฐานที่มุกตะวันออกพระวิหารเก๋งและในโอกาสอันสำคัญมหาฤกษ์นี้ ได้จัดสร้างพระบูชาและพระเครื่องชุดไพรีพินาศ ประกอบด้วย
1 พระบูชาไพรีพินาศ
2 พระกริ่งไพรีพินาศ
3 พระชัยวัฒน์ไพรีพินาศ
4 พระชัยวัฒน์แบบทั่วไป
5 เหรียญพระไพรีพินาศ
6 หม้อน้ำมนต์
วัตถุมงคลชุดไพรีพินาศที่ได้จัดสร้างในครั้งนั้น พระชุดไพรีพินาศยังเป็นองค์จำลองของพระพุทธรูปที่เปี่ยมด้วยพุทธบารมีอันศักดิ์สิทธ์ เป็นที่เคารพสักการะขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะคำ "พระไพรีพินาศ" ปัจจุบันเป็นที่นิยมบูชาของผู้สนใจในพระเครื่องเป็นอย่างสูงผู้สร้างเป็นถึงสมเด็จพระสังฆราชผู้เป็นประมุขแห่งสงฆ์และนอกเหนือจากความเป็นพระเครื่องที่สร้างในโอกาสมงคลอันสำคัญบริบูรณ์ด้วยพิธีกรรมและพิธีพุทธาภิเษกแล้ว เชื่อกันว่าผู้ที่ได้บูชาจะเปี่ยมด้วยสิริมงคลชีวิตร่มเย็นผาสุกรอดพ้นพิบัติภัยเอาชนะอุปสรรคได้นานาประการ ตลอดจนหมู่อริศัตรูผู้คิดร้ายก็จะพินาศแพ้ภัยไม่สามารถทำอะไรผู้บูชาพระไพรีพินาศ
ตำหนิเอกลักษณ์ ด้านหน้า
1. รอยตุ๊ดตู่เม็ดพระศก ที่ด้านหน้ายังพอเห็น
2. พระเมาลีเป็นเม็ดเขื่อง ชั้นเดียว
3.พระเกศเป็นต่อมนูนมน
4.พระพักตร์กลม
5.พระเนตรซ้ายองค์พระ เป็นแบบตาขุด ส่วนพระเนตรขวาเป็นแบบ ตาเนื้อ
6. สังฆาฏิสั้น
7.พระโอษฐ์เล็ก คล้ายปากเด็ก และยุบเข้าคล้ายอมยิ้มน้อยๆ
8.พระหัตถ์ ที่วางตักหงายออกนิ้วหัวแม่มือ มีขนาดเขื่องเห็นชัด
9.ปลายพระบาทขวาองค์พระวางพาดตักค่อนข้างอ่อนช้อย ตำหนิเอกลักษณ์ ด้านหลัง
1.ชายสังฆาฏิ เป็นสามชายปลายตัด
2.ตัวอักษรบอกชื่อพระไพรีพินาศ เป็นร่องลึกหล่อติดมาแต่ในพิมพ์
องค์นี้ลงรักปิดทองเก่ามาก สวยๆหายาก
1991 ครั้ง
ศุกาณ
0899559513
garn0899559513