เหรียญหล่อพระพุทธ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิตร ปี 2481

รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง

รายละเอียด

เหรียญหล่อพระพุทธ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิตร ปี 2481
 โชว์พระ
..:: อธิบายเพิ่มเติม ::..

เหรียญหล่อพระพุทธ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิตร ปี 2481
ลักษณะหล่อพิมพ์พระพุทธ พิมพ์เดียวกับหลวงพ่อทาวัดพะเนียงแตกรุ่น 2 จ.นครปฐม
อีกด้านหนึ่งเป็นรูปเหมือนท่านเจ้าคุณกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เป็นพิมพ์พิเศษโดยการสร้างครั้งที่ ๔ นี้คือวันที่ ๑๖ - ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ (พิธีจุดเทียนชัย ฯลฯ และเททอง) และวันที่ ๒๕ - ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ (พิธีปลุกเสกและฉลองสมโภช) ท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้บรรยายถึงการประกอบพิธีการสร้างครั้งนี้ไว้ในหนังสือ แถลงเรื่องฯ ว่า ประกอบพิธีตอนที่ ๑ (คือการหล่อ) เมื่องานได้ลงรูปและดำเนินมาตามลำดับดังกล่าวแล้ว ต่อจากนั้นก็ย่างเข้าขั้นประกอบพิธีหล่อพระรูปและแหวนต่อไป และพิธีหลอมหล่อนี้นับว่าเป็นตอนสำคัญยิ่งของการสร้างพระรูป เพราะถือกันตามความนิยมว่า ถ้างานตอนนี้สำเร็จไปด้วยดี ผลที่มุ่งก็ดีตลอดไป แต่ถ้าหากไม่เรียบร้อย คือมีการติดขัดเกิดขึ้นจนงานล่วงลุไปตามฤกษ์ยามมิได้ หรือเทียนชัยสำแดงอาเพศให้ประจักษ์เช่นแตกหรือดับเสียก่อนเสร็จงานเป็นต้น ก็เป็นการร้ายอย่างยิ่งทีเดียว ซึ่งมีปรากฏเป็นตัวอย่างมาแล้วมาก ฉะนั้นในการนี้ ก็จำเป็นต้องหาความรู้จากผู้ที่รู้แบบแผนและคุ้นเคยกับงานชนิดนี้มาเสียก่อน ว่าจะต้องจัดต้องทำอะไรบ้าง ทั้งต้องให้ตรวจหาฤกษ์ยามทำให้เหมาะตรงกับเวลาคือองศาจรของดวงจันทร์ดวง อาทิตย์ด้วย จึงจะอำนวยผลดีตามคตินิยม เพราะฉะนั้นในการนี้ทั้งหมดข้าพเจ้าจึงได้ไปขอความแนะนำจากท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ (ต่อมาคือ สังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ) และขอให้ตรวจหาฤกษ์ยามที่จะประกอบพิธีการให้เสร็จสิ้นทุกประการ ทุกครั้งทุกคราวที่ได้กระทำมาแล้วกระทั่งครั้งนี้ด้วย การจึงลุล่วงไปด้วยดี เพียบพร้อมเต็มตามพิธีทุกประการ นับว่าเป็นพระคุณอย่างยิ่งหาที่สุดมิได้ ฉะนั้นเมื่อถึงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๘๑ เวลา ๑๖ นาฬิกา ๔๒ นาที ได้ปฐมฤกษ์จุดเทียนชัย สมเด็จพระสังฆราช ผู้ทรงเป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ในงาน จึงทรงจุดเทียนชัย โดยมีพระมหาเถราจารย์ ๑๒ รูปเจริญพระพุทธมนตร์ ดังปรากฏตามรายพระนาม, นาม ดังต่อไปนี้
๑. สมเด็จพระสังฆราช วัดสุทัศน์
๒. สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศ
๓. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทร์
๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดพระเชตุพน
๕. พระศาสนโศภณ วัดมกุฎกษัตริยาราม
๖. พระพรหมมุนี วัดบรมนิวาส
๗. พระพิมลธรรม วัดมหาธาตุ
๘. พระธรรมวโรดม วัดราชาธิวาส
๙. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดอรุณ
๑๐. พระธรรมเจดีย์(ต่อมาคือสังฆราช อยู่) วัดสระเกศ
๑๑. พระธรรมปิฎก วัดพระเชตุพน
๑๒. พระธรรมโกษาจารย์ วัดเบญจมบพิตร
เมื่อสวดจบแล้ว พระอาจารย์ ๑๖ รูปคือ
๑. พระธรรมทานาจารย์ วัดระฆัง ธนบุรี
๒. พระพุทธวิหารโสภณ วัดวงฆ้อง อยุธยา
๓. พระครูวิสุทธิศีลาจารย์(ลพ.พริ้ง) วัดบางปะกอก ธนบุรี
๔. พระครูสิทธิสารคุณ(ลพ.จาด) วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี
๕. พระครูกรุณาวิหารี(พระอาจารย์เผือก) วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ
๖. พระครูนันทธีราจารย์(พระอาจารย์เหลือ) วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา
๗. พระอุปัชฌาย์คล้าย วัดศิลามูล นครปฐม
๘. พระพระอุปัชฌาย์อี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี
๙. พระอุปัชฌาย์รุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
๑๐. พระอุปัชฌาย์เรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ [สุพรรณบุรี]
๑๑. พระปลัดมา วัดราชบูรณะ พระนคร
๑๒. พระอาจารย์บุญชู วัดโปรดเกษ สมุทรปราการ
๑๓. พระอาจารย์แม้น วัดมักกะสัน พระนคร
๑๔. พระอาจารย์แฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี
๑๕. พระอาจารย์จง วัดหน้าต่าง[นอก] อยุธยา
๑๖. พระอาจารย์นอ วัดใหม่ อยุธยา
ได้ผลัดเปลี่ยนกันคราวละ ๑ รูปขึ้นนั่งปรกบริกรรมกำกับ
และพระพิธีธรรม ๑๒ รูปคือ
๑. พระมหาแช่ม ป. ๖ น.ธ. เอก วัดสระเกศ
๒. พระมหาใจ ป. ๔ น.ธ. เอก วัดสระเกศ
๓. พระบัว น.ธ. โท วัดสระเกศ
๔. พระหนู น.ธ. โท วัดสระเกศ
๕. พระพระครูศัพทสุนทร(แช่ม) วัดพระเชตุพน
๖. พระครูอมรโฆษิต(เมี้ยน) วัดพระเชตุพน
๗. พระครูวิจิตรสังฆการ(แพว) วัดพระเชตุพน
๘. พระมหาสำรวย ป. ๓ วัดพระเชตุพน
๙. พระมหาเพิ่ม ป. ๖ วัดสุทัศน์
๑๐. พระครูพรหมศร(วัน) วัดสุทัศน์
๑๑. พระครูอมรศัพท์(แม้น) วัดสุทัศน์
๑๒. พระสมุห์หนู วัดสุทัศน์
ผลัดเปลี่ยนกันคราวละ ๔ รูปขึ้นสวดภาณวาร, [สวด]พุทธาภิเศกตามเยี่ยงอย่างราชพิธี และ มีอุบาสกผลัดเปลี่ยนกันนั่งชักลูกประคำบริกรรมพระพุทธคุณเรื่อยไปจนเสร็จ พิธี รุ่งขึ้นวันที่ ๑๗ ธันวาคม ได้เวลา ๙ นาฬิกา ๒๖ นาทีอันเป็นปฐมฤกษ์เททอง โหรลั่นฆ้องชัย พระมหาเถราจารย์เจ้าพร้อมด้วยพระพิธีธรรมสวดชัยมงคลคาถา เจ้าภาพเริ่มเททองหล่อพระรูปและแหวนพอสังเขป แล้วปล่อยให้ช่างเทต่อไปจนครบถ้วนตามจำนวนที่ต้องการ เสร็จแล้วถวายอาหารเพล ครั้นฉันเพลเสร็จแล้ว สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ดับเทียนชัย เป็นเสร็จงานตอนที่ ๑ เพียงเท่านี้ ต่อจากนี้ช่างได้นำไปตกแต่งให้เรียบร้อยงดงามทั้งหมดเสียก่อน จึงจะหาฤกษ์งามยามดีประกอบพิธีตอนที่ ๒ ตอนที่ ๓ คือปลุกเสกและฉลองอีกครั้งหนึ่ง จึงจะนับว่าเสร็จพิธีโดยสมบูรณ์ แล้วแจกจ่ายสมนาคุณแก่ผู้ที่ส่งทุนบำรุงนำไปสักการบูชาตามประสงค์ ประกอบพิธีตอนที่ ๒ (คือปลุกเสก) เมื่อพิธีได้ทำสำเร็จแล้วตามประสงค์ จึงได้หาฤกษ์ประกอบพิธีปลุกเสก ปรากฏว่าฤกษ์ยามไปร่วมสบเหมาะกับวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ เวลาย่ำค่ำล่วงแล้ว ๔ นาที เป็นปฐม ฤกษ์ทำการปลุกเสก นับเป็นอดิเรกอุดมฤกษ์หาที่เปรียบมิได้ เพราะเสาร์ ๕ ข้างขึ้นน้อยครั้งที่จะพบ จึงอาราธนาพระมหาเถราจารย์เจ้ากับพระอาจารย์ทั้งหลายบรรดาที่ได้กรุณาลงแผ่น ทองเข้ามาประกอบพิธีหลอมหล่อพระรูปและแหวนนั้นทุกรูปมาประกอบพิธีปลุกเสกอีก ครั้ง หนึ่งแต่ก็เป็นที่น่าเสียใจเป็นที่สุดที่พระอาจารย์บางรูปทนความชราพยาธิไม่ ไหว เช่น พระครูพรหมเวชวุฒิคุณ วัดชัยมงคล สงขลาและครูบาพระศรีวิชัย วัดจามเทวี ลำพูน เป็นต้น ได้มรณภาพไปเสียแล้ว และบางรูปก็ชราภาพจนไม่สามารถจะไปจากกุฏิได้ เช่น
๑. พระมหา เมธังกร วัดน้ำคือ แพร่
๒. พระครูวิจิตรธรรมานุวัติ วัดบ้านค่าย ระยอง
๓. พระครูธรรมาภินันท์ วัดหลุมดิน ราชบุรี
๔. พระอาจารย์แช่ม วัดปากคลองบางสาลี สุพรรณบุรี
๕. พระอาจารย์คำ วัดบางไผ่นาด นครปฐม
๖. พระอาจารย์ปลื้ม วัด[ปากคลอง]มะขามเฒ่า ชัยนาท
๗. หลวงพ่อกบ วัดเขากบทวาศรี นครสวรรค์
๘. พระอาจารย์กรอง วัดเทพจันทร์ อยุธยา เป็นต้น
ก็ไม่สามารถจะมาร่วมพิธีปลุกเสกได้ ข้าพเจ้าจึงได้พยายามเสาะหาพระอาจารย์และอาราธนามาซ่อมที่ขาดเพื่อให้เต็ม ตามจำนวนเดิม แต่ก็ไม่สมประสงค์ เพราะกระชั้นกับวันที่ประกอบพิธีปลุกเสกเสียแล้ว จึงไม่มีเวลาพอที่จะอาราธนาให้ครบได้ แต่ก็ได้เพิ่มเติมมาบ้างคือ
๑. พระครูวิบูลวชิรธรรม(สว่าง) วัดท่างิ้ว อำเภอบรรพต นครสวรรค์
๒. พระครูการาม วัดหน้าพระลาน นครศรีธรรมราช
๓. พระอธิการอ้วน วัดสามทอง สุพรรณบุรี
๔. พระอาจารย์เส่ง วัดประสาท อยุธยา
๕. หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ ฉะเชิงเทรา
๖. พระครูวิมลญาณสุนทร วัดมหาเจดีย์ ฉะเชิงเทรา
เพราะฉะนั้น ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ เวลาย่ำค่ำล่วงแล้ว ๔ นาที เป็นปฐมฤกษ์ปลุกเสก พระมหาเถราจารย์เจ้าและพระอาจารย์ได้มาประกอบพิธีนี้ทั้งหมดรวม ๑๐๕ รูปเข้านั่งประจำที่ผินหน้าสู่ทิศอุดร เบื้อง หน้ามีบาตรซึ่งบรรจุพระรูป, เหรียญ และแหวนจัดตั้งไว้พร้อมสรรพ เริ่มพิธีบริกรรมเพ่งพระรูป, แหวน และเหรียญเพื่อประสาทความศักดิ์สิทธิ์ในสิ่งที่ปรารถนาต่อไป จนเป็นที่พอใจแล้วจึงหยุด นับเป็นเสร็จพิธีปลุกเสกเพียงเท่านี้ ประกอบพิธีตอนที่ ๓ (ฉลองและสมโภช) เมื่อเสร็จจากการปลุกเสกแล้ว มหรสพเริ่มแสดงให้เป็นการครึกครื้นพอสมควรแก่เวลา รุ่งเช้าวันที่ ๒๖ มีนาคม เวลา ๑๐ นาฬิกา อาราธนาพระมหาเถราจารย์ ๑๒ รูปในชุดเดิมเจริญพระพุทธมนตร์ฉลอง แล้วถวายอาหารบิณฑบาตพร้อมด้วยพระอาจารย์ทั้งหมดเสร็จแล้ว โหรเบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชพระรูป, เหรียญ, แหวน พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา เมื่อเวียนเทียนครบ ๓ รอบแล้ว จึงได้อาราธนาพระเถระผู้ใหญ่เจิมพระรูป, เหรียญ, แหวนทั่วทุกบาตรและโหรเจิมซ้ำเสร็จแล้ว นับว่าเสร็จพิธีปลุกเสกและสมโภชฉลองแต่เพียงเท่านี้ โลหะที่ใช้ในการสร้างครั้งนี้ท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ แถลงเรื่องฯ ว่า โลหะที่ประกอบในพิธีกรรมครั้งนี้ก็ต่อเนื่องมาจากการสร้างครั้งที่ ๑ ซึ่งมีโลหะเหลือเบ้าจากพิธีหล่อพระชัยของวัดต่าง ๆ และเศษทองพระชัยของหลวง และแร่ธาตุพิเศษที่ประกอบขึ้นด้วยการแปรธาตุของผู้ชำนาญมีแร่อันนิยมว่ามี คุณภาพวิเศษประมวลอยู่พร้อม ทั้งยังได้ร่วมกับ[แผ่น]ทองแดงซึ่งพระอาจารย์กว่า ๑๐๘ รูปลงอักขระและปลุกเสกจนสุดความสามารถแล้ว นำมารวมประกอบพิธีหล่อครั้งที่ ๔ นี้ และปรากฎว่ามีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคบูชาหมดภายในเวลา 4-5 เดือนและยังไม่พอแก่ความต้องการ บางคนอยู่ต่างจังหวัดพอทราบข่าวเดินทางมาไม่ทันของหมดซะก่อน จึงมีจัดสร้างเพิ่มอีกเป็นครั้งที่ 5 เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อ 16 ธันวาคม 2482

2017-07-11 13:43:59
2877 ครั้ง
พระราม 2
โทร.092-353-9947