เหรียญหล่อพระพุทธชินราชพิมพ์เข่าลอยนิยม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ปี2493 ใช้สวย เดิมเลี่ยมทองเปิดหน้าหลังมา+บัตรรับประกัน

รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง

รายละเอียด

เหรียญหล่อพระพุทธชินราชพิมพ์เข่าลอยนิยม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ปี2493 ใช้สวย เดิมเลี่ยมทองเปิดหน้าหลังมา+บัตรรับประกัน
 ขายแล้ว
..:: อธิบายเพิ่มเติม ::..

เหรียญหล่อพระพุทธชินราช พิมพ์เข่าลอยนั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อเงิน เทพเจ้าแห่งดอนยายหอม ได้จัดสร้างขึ้นในปีเดียวกับที่มีการหล่อพระประธานโบสถ์องค์ใหม่ของวัดดอนยายหอมหรือพระพุทธศรีทักษิณานุสรณ์ ซึ่งผมเองได้มีภาพถ่ายคราวที่หลวงพ่อเงินถ่ายภาพเป็นที่ระลึก และมีระบุปีที่ถ่ายภาพไว้ชัดเจนคือปี 2487 โดยวัตถุประสงค์เพื่อจะไว้ตอบแทนให้กับผู้อุปถัมภ์ในการบริจาคทรัพย์ในการสร้างโบสถ์วัดดอนยายหอม โดยในการสร้างพระพุทธชินราชเข่าลอยนั้น ทางวัดได้ว่าจ้างโรงงานหล่อพระให้จัดสร้างขึ้น โดยมีนายช่างสนิท เปาวโร(ช่างผูู้หล่อพระประธานโบสถ์) เป็นผู้แกะแบบพิมพ์และหล่อพระขึ้น ทำให้พระชินราชเข่าลอยนั้นมีรูปลักษณะพิมพ์ทรงและการหล่อที่งดงามกว่าชินราชเข่าจมมาก
สาเหตุที่ถูกเรียกกันว่าชินราชเข่าลอยนั้น ก็ด้วยก่อนที่จะมีการจัดสร้างชินราชเข่าลอยนั้น ทางหลวงพ่อเงินได้จัดสร้างพระพุทธชินราชหล่อเนื้อทองผสมขึ้นเองมาครั้งหนึ่งแล้ว โดยจัดสร้างกันเองภายในวัด การแกะแบบได้จัดทำมาแบบศิลปะนูนต่ำ ในขณะที่ชินราชเช่าลอยนั้นจัดสร้างแบบศิลปะนูนสูง ส่วนที่แตกต่างกันมากที่สุดของทั้งสองรุ่นคือบริเวณเข่าขององค์พระพุทธชินราชนั้น ส่วนของพระพิมพ์เข่าลอยที่สร้างจากโรงงานนั้นดูจะลึก โดยส่วนของเข่านี้ยกตัวสูงจากพื้นเหรียญมาก ทำให้ถูกขนานนามว่าชินราชเข่าลอย และเช่นกันอีกพิมพ์ที่วัดจัดสร้างจึงกลายเป็นชินราชเข่าจม
พุทธลักษณะของพระรุ่นนี้ ด้านหน้าเป็นพระพุทธชินราช คือองค์พระพุทธปางมารวิชัย ประทับนั่งบนฐานบัว โดยมีเปลวพระรัศมีลายกนกปกคลุม ศิลปะแบบนูนสูงอย่างที่กล่าวไว้ เอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือพระพิมพ์นี้จะมีรอยแตกที่ขอบเหรียญด้านขวาองค์พระ คล้ายกับตัว ส. เสือ บางองค์อาจมีทั้งสองด้านแต่ด้านซ้ายองค์พระมักจะไม่ชัดและดูไม่เหมือน ส.เสือ มากนัก
ด้านหลังจะปรากฏยันต์ทั้งหมด 4 ตัว คือ ตัวอุณาโลมที่อยู่บนสุด มีตัว มิ อยู่ใต้อุณาโลม และแถวสุดท้ายสองตัวคือตัว นะ นะ ซึ่งเป็นยันต์สองตัวที่หลวงพ่อรุ่ง แห่งวัดดอนยายหอม อาจารย์ของหลวงพ่อเงินมักจะใช้จารวัตถุมงคลของท่าน ซึ่งเชื่อว่าหลวงพ่อเงินได้ใช้ยันต์สองตัวนี้เป็นการสืบทอดกันมา ในส่วนของลักษณะรูปทรงจะเป็นทรงน้ำเต้ายอดแหลม แบ่งเป็น 3 ชั้น ค่อยๆ ลดขนาดลงไป
ในการหล่อพระพุทธชินราชเข่าลอยนั้น ปรากฏว่านายช่างสนิทได้จัดสร้างพิมพ์สองหน้าขึ้นมาเองโดยทางวัดไม่ได้สั่ง คือองค์พระทั้งสองด้านจะมีพระพุทธชินราชแบบเดียวกันทั้งคู่ ซึ่งก็คาดกว่าจะเป็นองค์ยอดช่อ เนื่องจากการหล่อนั้นใช้วิธีหล่อทั้งช่อ คือมีการขึ้นแบบหุ่นเทียนเป็นช่อๆ มีท่อชนวนเชื่อมต่อในการเดินโลหะ เมื่อหล่อเสร็จจึงทุบเบ้าออกแล้วค่อยเคาะแยกออกเป็นองค์ๆ ในภายหลัง สุดท้ายทำการตะไบแต่งก้นเอาเดือยท่อชนวนออกให้เรียบร้อย แต่ในบางองค์ไม่ได้ตะไบเดือยทิ้งก็มี
เนื้อหานั้นแม้จะมีการสร้างจากโรงงาน แต่ก็เป็นเนื้อโลหะผสมทำให้มีชนวนหลายประเภทที่ผสมกันอยู่ ผิวพรรณวรรณะขององค์พระจึงมีหลายสีหลายโทน ที่พบมากที่สุดคือผิววรรณะสีเหลืองออกคล้ำและมักจะมีคราบสีดำปกคลุมอยู่ ซึ่งผิวครามเบ้าสีดำนี้มักจะดูหนาและดูเหนอะ ส่วนผิวสีอื่นๆ คือสีออกดำบางทีเรียกว่าเนื้อขันลงหิน คาดว่าจะแก่เงินเมื่อเกิดสนิมจึงกลับดำมีน้ำทองลอย ส่วนอีกสีผิวหนึ่งเรียกกันว่าผิวก้านมะลิ ซึ่งผิวจะออกโซนก้านมะลิคือสีออกเขียวเข้มจัดใกล้เคียงสีดำแต่จะขึ้นพรายเงิน ดูแล้วมีความสวยงามอย่างมาก
ด้านราคาการเล่นหา ปัจจุบันราคาขยับตัวไปไกลพอสมควร แต่เนื่องจากชินราชเข่าลอยไม่มีการแยกพิมพ์แยกบล็อก บรรดาเซียนจึงแยกกันที่สีของเนื้อหาตามความหายาก หากเป็นผิวก้านมะลิ สวยๆ เวลานี้คงต้องว่ากันที่หลักแสนเศษไกลๆ ในขณะที่ผิวดำหรือขันลงหินงามๆ ว่ากันที่หมื่นปลายทะลุแสนนิดหน่อย ส่วนวรรณะแบบทองเหลือราคายังอยู่ที่หมื่นกลางถึงกลางแก่เท่านั้น และส่วนของพิมพ์สองหน้าว่ากันที่หลายแสน ส่วนตัวผู้เขียนเคยเห็นเปลี่ยนมือองค์ที่ไม่งามนักว่ากันไปที่ 180,000 บาท และองค์ที่งามจัดทั้งสองหน้าเคยมีคนปิดไป 300,000 บาท ในส่วนของท่านใดที่สนใจอยากได้ไว้ครอบครองแต่ไม่อยากจ่ายเงินหลักแสนหรือครึ่งแสน ในองค์ที่หย่อนงามลงไปก็ยังพอหาได้ที่หลักพันหรือหมื่นเศษ แต่ก็ได้พุทธคุณเท่ากัน
นอกจากนี้ในปี 2517 ทางวัดดอนยายหอมเองได้จัดสร้างชินราชเข่าลอยขึ้นอีกครั้ง เพื่อบรรจุกล่องที่ระลึกในปี 2517 โดยเอาเข่าลอยยุคแรกไปถอดพิมพ์และหล่อใหม่ ทำให้พระที่บรรจุกล่องนั้นหรือชินราชเข่าลอยยุคหลังไม่มีความคมชัด มองเผินๆ คล้ายกับพระเก๊ ส่วนเนื้อหารุ่น 2 เป็นทองเหลือง ลงรักหรือยางสีดำบริเวณผิว ตัวพระเองจะไม่คมชัดไม่งามเช่นเดียวกับรุ่นแรก แต่ก็ถือว่าเป็นพระดีที่สร้างแท้และทันหลวงพ่อ แต่ทุกวันนี้ราคาเล่นหายังถือว่าถูกมากเพียงหลักพันต้นๆ อาจจะเพราะความล้มเลือนไม่งาม ผิวพรรณที่ส่วนใหญ่ดูดำและคล้ายพระเก๊นั่นเอง พระครูวิมลสุทธิสาร หลวงพ่อพันธ์ วิสุทธิสาโร เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมรูปปัจจุบัน เป็นผู้ให้ข้อมูลครับ

เครดิต ประวัติและภาพ คุณทนายแจ็ค

2018-10-26 04:52:40
7843 ครั้ง
ศิลป์ส่องพระ by chettsongpra
081-6865899
chettsongpra